ฟันปลอม มีหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น ฟันปลอมติดเเน่น ฟันปลอมถอดได้ ฟันปลอมเเบบนิ่ม สะพานฟัน รากเทียม มาดูกันว่าฟันปลอมแต่ละแบบต่างกันอย่างไร เเล้วแบบไหนที่เหมาะกับคุณ ปรึกษาทันตแพทย์เฉพาะทางจากแคร์ เดนทัล คลินิกได้ คุณหมอยินดีให้คำแนะนำค่ะ

การทำฟันปลอม

เลือกอ่านหัวข้อการทำฟันปลอม ซ่อน
  1. 1. ฟันปลอม คือ อะไร (Denture)
  2. 2. ถ้าไม่ใส่ฟันปลอม มีผลอย่างไร
  3. 3. ฟันปลอมมีกี่แบบ
    1. 3.1. ฟันปลอมแบบถอดได้
    2. 3.2. ฟันปลอมแบบติดแน่น
    3. 3.3. ฟันปลอมเเบบติดเเน่น มีกี่แบบ
  4. 4. ฟันปลอมทำจากอะไร
  5. 5. ข้อดี ข้อเสีย ของ ฟันปลอม เเต่ละประเภท
    1. 5.1. ฟันปลอมเเบบถอดได้ จุดเด่น และ จุดด้อย
    2. 5.2. ข้อดี ฟันปลอมเเบบถอดได้
    3. 5.3. ข้อเสียฟันปลอมเเบบถอดได้
    4. 5.4. ข้อดี และ ข้อเสีย ฟันปลอมเเบบติดเเน่น
    5. 5.5. ฟันปลอมเเบบติดเเน่นมีข้อดียังไง
    6. 5.6. ข้อเสีย ฟันปลอมเเบบติดเเน่น
  6. 6. ใครควรใส่ฟันปลอม
  7. 7. ฟันปลอมแบบไหนเหมาะกับคุณ
  8. 8. ขั้นตอนทำฟันปลอม
  9. 9. การดูแลฟันปลอม
    1. 9.1. ดูเเลฟันปลอมเเบบถอดได้
    2. 9.2. ดูเเลฟันปลอมเเบบติดเเน่น
  10. 10. คำถามเกี่ยวกับฟันปลอม
  11. 11. ราคา ฟันปลอม แบบต่างๆ
    1. 11.1. care dental clinic

ฟันปลอม คือ อะไร (Denture)

ฟันปลอม คือ ฟันที่ทำขึ้นโดยทันตแพทย์ใส่ให้กับคนไข้ที่สูญเสียฟันไปเนื่องจากการถอนในการรักษาฟันผุ ฟันโยกจากอาการเหงือกอักเสบ เคสอื่นๆ เช่น ฟันหัก ฟันแตกก็สามารถใส่ฟันปลอมร่วมได้

การใส่ฟันปลอมแทนที่ฟันที่หายไปจะช่วยแก้ปัญหา การรับประทานอาหารได้ง่าย มีประสิทธิภาพ พูดคุยออกเสียงได้ชัดเสริมสร้างความมั่นใจ ฟันปลอมยังช่วยคอยพยุงแก้มและริมฝีปากไม่ให้ดูหย่อนคล้อยอีกด้วย

ฟันปลอม คือ อะไร
ฟันปลอม

ถ้าไม่ใส่ฟันปลอม มีผลอย่างไร

กรณีที่คนไข้ สูญเสียฟัน หรือ ได้รับการถอดฟันเเล้วปล่อยให้มีช่องว่างระหว่างฟัน จะมีผลดังนี้

  • ฟันค้างเคียงของซี่ที่ถูกถอนไปล้มหรือเอียงเข้าเข้ามาบริเวณช่องว่าง
  • มีผลต่อฟันคู่สบที่ไม่ตรงกัน เกิดการกระเเทกขณะเคี้ยวอาหาร- ปัญหาการเคี้ยวอาหารข้างเดียว
  • มีเศษอาหารติดที่ซอกฟันได้ง่าย เกิดฟันผุหรือเหงือกอักเสบตามมาได้

ติดต่อคลินิกเพื่อขอคำปรึกษา

ติดต่อเพื่อนัดปรึกษาทันตแพทย์ ตรวจฟัน


ฟันปลอมมีกี่แบบ

ฟันปลอมแบ่งเป็น 2 แบบ คือ ฟันปลอมเเบบถอดได้ เเละ ฟันปลอมแบบติดแแน่น

ฟันปลอมแบบถอดได้

ฟันปลอมชนิดถอดได้ คือ ฟันปลอมที่ทำขึ้นให้กับผู้ที่ยังมีฟันธรรมชาติหลงเหลืออยู่ เป็นการใส่ฟันเพียงบางส่วน ถอดออกมาล้างทำความสะอาดได้ แบบถอดได้แบ่งได้ดังนี้ ฟันปลอมโครงโลหะ, ฟันปลอมฐานพลาสติด ฯลฯ

ฟันปลอม ถอดได้
รูปแบบฟันปลอมถอดได้

ฟันปลอมแบบติดแน่น

ฟันปลอมแบบติดแน่น ถือว่าเป็น ฟันปลอมถาวร ที่ยึดแน่นในช่องปาก โดยอาศัยฟันธรรมชาติซี่ที่อยู่ข้างเคียงกับช่องว่างเป็นหลักในการยึดฟันปลอม เป็นการทำครอบฟันที่เป็นฟันปลอมยึดกับฟันธรรมชาติ ฟันปลอมชนิดนี้คนไข้ไม่สามารถถอดออกมาเพื่อทำความสะอาดภายนอกช่องปากได้

หลักการใส่ ฟันปลอม แบบติดแน่น
หลักการใส่ฟันปลอมแบบติดแน่น

ฟันปลอมเเบบติดเเน่น มีกี่แบบ

1. ฟันปลอมติดแน่นด้วย สะพานฟัน

สะพานฟัน คือ การนำฟันเทียม (ฟันปลอม) มาเกี่ยวยึดกับฟันซี่ข้างเคียงฟันซี่ที่หายไป เพื่อทดแทนช่องว่างระหว่างฟัน ลักษณะคล้ายๆ สะพานเชื่อม

สะพานฟัน
สะพานฟัน

2. ฟันปลอมติดแน่นด้วย รากฟันเทียม

รากฟันเทียม คือ การปลูกฟันเทียมทดแทนฟันที่สูญเสียไป ด้วยการฝังรากฟันเทียมไททาเนียมลงไปในกระดูกขากรรไกร ยึดติดกับตัวเนื้อฟันจากเรซินเพื่อใช้บดเคี้ยว ทำหน้าที่ได้เหมือนกับฟันธรรมชาติ

รากฟันเทียม
รากฟันเทียม

ฟันปลอมทำจากอะไร

ฟันปลอมเเบบถอดได้ (Temmporary plate) ตัวฐานมีทั้งเเบบที่ทำจากพลาสติกหรืออะครีลิก เเละฐานเเบบโลหะ

  • แบบฐานพลาสติก มีการใช้เบื้องต้นในคนไข้ที่ยังไม่เคยใส่ฟันปลอม เพื่อเป็นช่วงระยะเวลาในการปรับตัวว่าใช้งานได้ถนัดหรือไม่
  • เเบบโลหะจะบางเเละเเนบกับเหงือกได้มากกว่า คนไข้รู้สึกรำคาญน้อยกว่าเเบบฐานพลาสติกเเละมีความทนทานมากกว่า
ฟันปลอม ฐานพลาสติก และ ฐานโลหะ
ฟันปลอมแบบฐานพลาสติกเเละแแบบฐานโลหะ

ฟันปลอมเเบบติดเเน่น (Fixed Denture)

  • แบบโลหะทั้งซี่ เหมาะกับใช้ในฟันตำแหน่งบดเคี้ยว
  • แบบพลาสติกทั้งซี่ เหมาะกับการใส่ชั่วคราว ช่วงที่รอให้แผลถอนฟันหายดี
  • แบบผสม เช่น เซรามิก ฐานโลหะพอกด้วยพอสเลน เหมาะกับบริเวณฟันหน้าที่เน้นความสวยงามเป็นธรรมชาติ
วัสดุ ทำ ฟันปลอม
วัสดุทำฟันปลอม

ข้อดี ข้อเสีย ของ ฟันปลอม เเต่ละประเภท

ฟันปลอมเเบบถอดได้ จุดเด่น และ จุดด้อย

ข้อดี ข้อเสีย ของ ฟันปลอม แบบถอดได้
ข้อดี – ข้อเสีย ฟันปลอมแบบถอดได้

ข้อดี ฟันปลอมเเบบถอดได้

  • สามารถใส่ได้หลายซี่ หรือใส่ได้ทั้งปาก
  • ง่ายต่อการถอดเพื่อทำความสะอาด
  • ราคาถูกกว่าฟันปลอมเเบบติดเเน่น

ข้อเสียฟันปลอมเเบบถอดได้

  • มีส่วนของเพดานปากที่ติดกับฟันปลอม อาจทำให้รู้สึกรำคาญระหว่างพูดหรือเคี้ยวอาหาร
  • ยิ้มเเล้วเห็นตะขอฟันปลอมได้ง่าย
  • ประสิทธิภาพด้านการบดเคี้ยวน้อยกว่าฟันปลอมเเบบติดเเน่น เพราะเเรงกดจากการเคี้ยวจะลงที่เหงือก

ข้อดี และ ข้อเสีย ฟันปลอมเเบบติดเเน่น

ฟันปลอมแบบติดเเน่น
ข้อดี – ข้อเสีย ฟันปลอมแบบติดเเน่น

ฟันปลอมเเบบติดเเน่นมีข้อดียังไง

  • ประสิทธิภาพด้านการบดเคี้ยวดีเทียบเท่ากับฟันจริง เพราะเเรงเคี้ยวกดลงที่ตัวฟัน
  • ไม่รู้สึกรำคาญ เพราะไม่มีส่วนของเหงือกปลอม หรือตะขอที่เกะกะเหมือนฟันแบบถอดได้
  • มีลักษณะและขนาดใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติ มากกว่าฟันปลอมแบบถอดได้
  • ติดแน่น หลุดยาก

ข้อเสีย ฟันปลอมเเบบติดเเน่น

  • ต้องมีการกรอฟันข้างเคียงเพื่อยึดฟันปลอม ทำให้สูญเสียเนื้อฟัน
  • ราคาสูงกว่าฟันปลอมแบบถอดได้
  • ฟันปลอมติดเเน่นถอดออกมาล้างทำความสะอาดไม่ได้ ถ้าแปรงฟันไม่ดีอาจทำให้ ฟันข้างเคียงเสียหายไปได้ เป็นโรคเหงือก หรือฟันผุได้ง่าย

ใครควรใส่ฟันปลอม

  • คนที่ฟันเริ่มมีปัญหา รูปร่างฟันผิดปกติจากการ บิ่น เเตก
  • คนที่สูญเสียฟันในตรงตำแหน่งนั้นไป

คุณสามารถทำฟันปลอมเเละใส่ได้ทันทีเมื่อมีการถอนฟันหรือสูญเสียฟัน คนไข้สามารถนัดพบทันตแพทย์เพื่อให้คุณหมอตรวจสอบช่องปาก

โดยปกติช่วงหกเดือนแรกหลังจากถอนฟัน กระดูกและเหงือกจะหดตัวลง คุณอาจต้องทำการปรับแต่งหรือเปลี่ยนฟันปลอมให้เข้ากับโครงสร้างที่เปลี่ยนไป ซึ่งคุณหมอจะดูเเลพร้อมให้คำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องนี้


ฟันปลอมแบบไหนเหมาะกับคุณ

ควรปรึกษาทันตแพทย์ เพื่อให้คุณหมอประเมินว่า ต้องใส่ฟันปลอมกี่ซี่ สุขภาพฟันข้างเคียง ที่อยู่ติดกับฟันที่ต้องการใส่ ว่ามี ความเเข็งเเรงมั้ย หรือต้องดูเเลเพิ่มเติม โดยทั่วไป ฟันปลอมถอดได้ เหมาะกับผู้ที่ต้องใส่ฟันปลอมหลายๆซี่ แต่ถ้าฟันข้างเคียง ไม่เเข็งเเรง พอที่จะรองรับ ตะขอใส่ฟันปลอม ก็อาจจะใช้การติดฟันปลอมเเบบเเน่น เป็นต้น


ขั้นตอนทำฟันปลอม


1. ทันตแพทย์เริ่มต้นซักถามประวัติจากคนไข้ เริ่มการตรวจช่องปาก ถ่ายรูป X-ray พิมพ์แบบจำลองช่องปากของคนไข้
2. ทันตแพทย์ตรวจการเรียงตัวของฟัน เลือกสีฟันที่ใกล้เคียงกับฟันเดิม เเละสร้างฟันปลอมขึ้นมาบนแบบจำลองนั้น เพื่อให้ได้รูปฟันที่สวยงาม ขนาดพอดีใส่ในช่องปากของคนไข้ มีการสบฟันที่ถูกต้อง
3. ทันตแพทย์ใส่ฟันปลอมเเละแก้ไขตำแหน่งกดเจ็บ ในระหว่างการทำฟันปลอม ทันตแพทย์จะนัดพบคนไข้ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ระยะเวลาขึ้นอยู่กับรูปแบบของฟันปลอม หลังใส่ฟันปลอมเรียบร้อยแล้ว ก็อาจต้องกลับไปพบทันตแพทย์ในช่วงเดือนแรก เพื่อปรับหรือตกแต่งฟันปลอมเพิ่มเติมให้พอดีกับช่องปาก


การดูแลฟันปลอม

การดูเเลรักษาฟันปลอมเน้นการดูเเลความสะอาดเเละการถนอมการใช้งานฟันปลอมให้คุ้มค่า

การ ดูเเล ฟันปลอม
การดูเเลฟันปลอม

ดูเเลฟันปลอมเเบบถอดได้

  • ไม่ควร รับประทานอาหาร ที่มีความเหนียวเเข็ง เพราะทำให้ฟันปลอมทำงานหนัก เเละ อาจหลุดออกมาขณะเคี้ยวได้
  • ระวังอย่าทำฟันปลอมหล่น เพราะพลาสติดที่เป็นส่วนประกอบของฟันปลอมอาจแตกหักเสียหาย
  • หลังมื้ออาหารถอดฟันปลอมออกล้างด้วยน้ำสะอาด ใช้แปรงสีฟันขนนุ่มๆ ที่ทำความสะอาดฟันปัดทำเศษอาหารออกจากฟันปลอม
  • ไม่ใช้ยาสีฟันทำความสะอาดฟันปลอม เพราะสารขัดฟันในยาสีฟันจะทำให้ตัวฟันปลอมสึกได้
  • แนะนำให้ใช้เม็ดฟู่เเช่ฟัน เพื่อทำความสะอาดฟันปลอมเเละกำจัดเชื้อโรคที่ซ่อนอยู่ อาทิตย์ละครั้ง
  • ก่อนนอนควรถอดแช่น้ำ เพื่อคงรูปร่างของฟันปลอมไว้ การเก็บฟันปลอมในที่เเห้งจะทำให้ฟันปลอมบิดเบี้ยว เเละไม่สามารถใส่ฟันได้สนิทกับเหงือกเหมือนเดิม

ดูเเลฟันปลอมเเบบติดเเน่น

  • ดูเเลรักษาเหมือนฟันธรรมชาติ แปรงฟันเน้นบริเวณคอฟัน เหงือก ใช้ไหมขัดฟันเพื่อกำจัดเศษอาหารที่ติดอยู่ตามซอกฟัน
  • เเนะนำให้ทำความสะอาดใต้ฟันปลอมด้วยเครื่องมือร้อยไหมขัดฟัน (Floss threader) ร่วมกับไหมขัดฟัน
  • เข้ารับการตรวจเช็คจากทันตแพทย์ตามนัด

คำถามเกี่ยวกับฟันปลอม


ฟันปลอม ใส่แล้วเจ็บมั้ย หลังใส่ฟันปลอม รู้สึกยังไง

ในช่วงเเรกๆ ที่คนไข้ยังไม่คุ้นชินกับการใส่ ฟันปลอม การใส่ฟันปลอมอาจจะความรู้สึกระคายเคืองบ้าง การใส่เเละถอดทำได้ลำบาก อาจมีน้ำลายไหลออกมามากในช่วงแรกๆ โดยอาการจะลดน้อยลงเริ่มคุ้นเคยกับการใส่ฟันปลอม


ฟันปลอมมีอายุการใช้งานนานกี่ปี

ฟันปลอม แบบถอดได้ มีอายุการใช้งานเฉลี่ยอยู่ที่ 5 – 10 ปี อยู่ที่การดูเเลของวัสดุ เเละ พฤติกรรมการใช้ฟันในกิจวัตรประจำวันของแต่ล่ะคน

ฟันปลอมใส่แล้วหลวม ต้องแก้ยังไง

ฟันปลอมของคุณอาจจะต้องมีการปรับแต่งหรือทำใหม่ เนื่องจากการสึกหรอจากการใช้งานตามปกติ หรือการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของปาก บริเวณสันกระดูกหรือเหงือกที่หดตัวทำให้ช่วงกรามแตกต่างจากเดิม ฟันปลอมที่เคยใช้อยู่หลวมขึ้น ทำให้รู้สึกไม่สบายขณะใส่รับประทานอาหาร การพูดคุยลำบากขึ้น และยังส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา เช่น แผลในช่องปากและการติดเชื้อ


ฟันปลอมทำให้พูดไม่ชัดใช่มั้ย

การใส่ฟันปลอมอาจะทำให้คุณมีปัญหาในการออกเสียงบางคำ แต่เมื่อใส่ฟันปลอมจนเริ่มชินเเล้วการปรับรูปแบบการพูดเมื่อใส่ฟันปลอมอยู่จะทำได้ง่ายขึ้น

ถ้าคุณพบว่าฟันปลอมเคลื่อนตำแหน่งในขณะ หัวเราะ ไอ หรือ ยิ้ม ให้เปลี่ยนตำแหน่งโดยการกัดเบาๆ เเละค่อยๆกลืนน้ำลาย หากเกิดขึ้นบ่อยๆ ให้คุณนัดพบทันตแพทย์เพื่อปรับฟันปลอม

การใส่ฟันปลอมทำให้คนไข้ดูเเตกต่างมั้ย

การใส่ฟันปลอมนั้นเป็นเรื่องดีต่อสุขภาพฟัน เพราะฟันปลอมจะเข้าไปช่วยเติมเต็มฟันทดแทนฟันแท้ส่วนที่หายไป ช่วยเติมบริเวณแก้ม ริมฝีปาก และกล้ามเนื้อส่วนที่หย่อนคล้อยให้เต็มขึ้น ทำให้คนไข้ดูอ่อนเยาว์ลงเเละช่วยในเรื่องการรับประทานอาหารและการพูดได้ดียิ่งขึ้น

ต้องใส่ฟันปลอมนานขนาดไหน (สำหรับฟันปลอมเเบบถอดได้)

คุณหมอเเนะนำให้ใส่ฟันปลอมเกือบตลอดเวลาในช่วง 2-3 วันแรก รวมถึงขณะที่คุณหลับ หลังจากที่ปากของคนไข้เริ่มชินกับการใส่ฟันปลอมเเล้ว จึงสามารถถอดออกได้ช่วงที่คุณนอนหลับ เพื่อให้เหงือกของคนไข้ได้พักผ่อน เเละเก็บฟันปลอมไว้ในแก้วที่ใส่น้ำในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อกันฟันปลอมบิดงอ

ใส่ฟันปลอมควรกลับมาพบทันตแพทยท์บ่อยแค่ไหน

โดยปกติทันตแพทย์จะเเนะนำให้คุณกลับมาตรวจสุขภาพฟันทุกๆ 6 เดือน การพบทันตแพททย์เป็นประจำสม่ำเสมอ ช่วยให้คุณหมอตรวจพบการติดเชื้อในปาก หรือแม้กระทั่งมะเร็งปากในระยะแรกได้

กรณที่คนไข้ใส่ฟันปลอมเต็มปาก คุณหมอที่ดูเเลอาจจะทำการนัดเช็คตามความถี่ ในระยะเวลาที่แตกต่างออกไป


ราคา ฟันปลอม แบบต่างๆ

รายการค่าใช้จ่ายโดยประมาณ
ฟันปลอมเเบบถอดได้ ราคาเริ่มต้น 2,500 บาท/ซี่
ฟันปลอมเเบบติดแน่น ราคาเริ่มต้น 10,000 บาท/ซี่
ฟันปลอมแบบรากเทียม ราคาเริ่มต้น 65,000 บาท/ซี่
ราคาฟันปลอมแต่ล่ะแบบ
ติดต่อคลินิกเพื่อขอคำปรึกษา

ติดต่อเพื่อนัดปรึกษาทันตแพทย์ ตรวจฟัน

care dental clinic

81 Charoen Krung Rd, Khwaeng Yan Nawa, Khet Sathon
Bangkok, Krung Thep Maha Nakhon 10120
Phone: +668-5157-3883
Secondary phone: +66-2211-8903
Monday10:00 - 20:00
Tuesday10:00 - 20:00
Wednesday10:00 - 20:00
Thursday10:00 - 20:00
Friday10:00 - 20:00
Saturday10:00 - 20:00
SundayClosed
อรวดี เกียรติเวชสุนทร
ทพญ. อรวดี เกียรติเวชสุนทร
ทันตแพทย์

ผู้ก่อตั้ง Care Dental Clinic ผ่านประสบการณ์การเปิดคลินิกมาทั้งสิ้น 5 สาขา และมีประสบการณ์มามากกว่า 35 ปี คุณหมอนับว่าเป็นตระกูลทันตแพทย์ เพราะมี คุณปู่ คุณพ่อ ตัวคุณหมอเอง และ ลูกชายเป็นทันตแพทย์ ติดกัน 4 รุ่น แล้ว จึงทำให้เรื่องของทันตกรรม อยู่ในสายเลือดของคุณหมอ

Scroll to Top