ศัลยกรรมช่องปาก ในทางทันตกรรมคือการผ่าตัดต่างๆ ในช่องปากเพื่อรักษาอาการอักเสบหรือโรคต่างๆ
อาทิเช่น การถอนฟัน ผ่าฟันคุด ตัดแต่งกระดูกเพื่อใส่ฟันปลอมรวมถึง การผ่าตัดฝังรากฟันเทียม การรักษาถุงน้ำ หรือเนื้องอกบริเวณช่องปาก
การรักษากระดูกขากรรไกรแตกหัก การเจ็บปวดของกระดูกข้อต่อขากรรไกร การอักเสบของปลายประสาทบริเวณใบหน้า
ผ่าตัดแก้ไขภาวะปากแหว่งเพดานโหว่และความพิการของ ใบหน้าประเภทต่างๆ รวมถึงการผ่าตัดเตรียมสภาพช่องปากเพื่อการใส่ฟันปลอม
ศัลยกรรมช่องปาก ผ่าฟัน ผ่าตัดในช่องปาก
ศัลยกรรมช่องปาก คือ
ศัลยกรรมช่องปาก คือ การรักษาที่เกี่ยวข้องกับการผ่าตัดต่างๆในช่องปาก อาทิเช่น
- การถอนฟัน ผ่าฟันคุด
- การผ่าตัดฝังรากฟันเทียม
- การรักษาถุงน้ำ หรือเนื้องอก บริเวณช่องปาก
- การรักษากระดูกขากรรไกรแตกหัก
- การเจ็บปวดของกระดูกข้อต่อขากรรไกร
- การอักเสบของปลายประสาทบริเวณใบหน้า
- การผ่าตัดแก้ไขภาวะปากแหว่งเพดานโหว่และความพิการของใบหน้าประเภทต่างๆ
- รวมถึงการผ่าตัดเตรียมสภาพช่องปากเพื่อการใส่ฟันปลอม
ประเภทศัลยกรรมช่องปากที่ Care Dental Clinic
1.ถอนฟัน
เป็นการรักษาเมื่ออาการฟันผุ และอาการอักเสบลุกลามจนไม่สามารถรักษาด้วยวิธีอื่นได้อีกต่อไปแล้ว หรือในกรณีที่เป็นโรคเหงือกลุกลามและเกิดหนอง มีอาการบวม ฟันโยก หรือ ในกรณีจัดฟัน ซึ่งต้องถอนฟันเพื่อให้สามารถเคลื่อนฟันได้
2.ผ่าฟันคุด
เป็นการรักษาในกรณีที่ฟันไม่สามารถขึ้นได้ตามปกติ ทำให้เกิดการผุ หรือปวด บวมได้ จึงต้องผ่าตัดเพื่อเอาฟันคุดนั้นออก
3. ผ่าตัดกระดูก
เป็นการรักษาในกรณีที่มีปัญหากระดูกโปนมากและไม่สามารถใส่ฟันปลอมได้ จึงต้องมีการผ่าตัดเพื่อให้สามารถใส่ฟันปลอมได้
ถอนฟัน
ปัญหาฟันแบบไหนบ้างที่รักษาด้วยการถอนฟัน
- ฟันผุรุนแรงถึงขั้นเนื้อเยื่อโพรงประสาทฟันถูกทำลาย
- พื้นที่ของฟันในช่องปากไม่เพียงพอต่อการขยับของแนวฟัน
- โรคปริทันต์ (โรคเกี่ยวกับเหงือก)
- ฟันที่แตกจนไม่สามารถรักษาได้
- ฟันที่ขึ้นผิดตำแหน่ง เช่น ฟันคุด
- ถอนฟันจากการจัดฟัน
ขั้นตอนการถอนฟัน
- ทันตแพทย์วินิจฉัยอาการ เเละภาพ x-ray ประกอบกับตำแหน่งของฟันและกระดูกบริเวณรอบๆ ฟัน
- ทันตแพทย์ทำความสะอาดบริเวณเหงือกเเละฟันที่ใกล้เคียง เเละฉีดยาชาบริเวณที่จะถอนฟัน
- ทันตแพทย์จะใช้เครื่องมือที่ทำให้ฟันหลวมออกจากกระดูกขาขากรรไกร และใช้คีมถอนฟันดึงออกมา ในฟันซี่ที่ถอนยากอาจต้องถอนโดยแยกเป็นชิ้นส่วนหลายครั้ง
- ทันตแพทย์จะปิดแผลด้วยผ้าก๊อซ เพื่อห้ามเลือดหลังการถอน กรณีที่แผลกว้างอาจมีการเย็บแผลเพื่อให้เลือดหยุดไหล แผลปิดเเละสมานตัวกันเร็วขึ้น
การดูเเลสุขภาพหลังถอนฟัน
- กัดผ้าก๊อซให้แน่นบนเพื่อห้ามเลือด ปกติเลือดจะหยุดไหลภายใน 1 ชั่วโมง
- ห้ามบ้วนเลือด หรือน้ำลายภายใน 24 ชั่วโมงหลังถอนฟัน เพราะจะทำให้ลิ่มเลือดที่กำลังเเข็งตัว เคลื่อนที่ออกจากบริเวณเเผล ทำให้เลือดไหลอีก
- หากเลือดยังไม่หยุดไหล ใช้น้ำแข็งห่อด้วยผ้าประคบข้างแก้มแทนการอมน้ำเเข็ง
- หลังจาก 24 ชั่วโมงไปเเล้ว สามารถกลั้วปากเบา ๆ ด้วยน้ำเกลือเพื่อช่วยลดอาการบวมและเจ็บปวดได้
- รับประทานอาหารอ่อนๆ ทานได้ง่ายเเละไม่ร้อนจนเกินไป
- ห้ามสูบบุหรี่ ดื่มสุราอย่างน้อย 1 สัปดาห์
ทำไมต้องมีการถอนฟัน ?
สาเหตุที่ส่วนใหญ่ของการถอนฟันนั้น เกิดได้จากหลายปัญหา อาทิเช่น ต้องจัดฟัน แล้วพื้นที่ของฟันในช่องปากไม่เพียงพอต่อการขยับของแนวฟัน หรือ อีกปัญหาที่พบกันเยอะคือปัญหา ฟันผุ
ฟันผุ แบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ
โดยอาการของฟันผุในระยะแรก
เป็นระยะที่กรดแลกติกเริ่มเข้าไปทำลายชั้นเคลือบฟันซึ่งผู้ป่วยจะไม่มีอาการปวดแต่อย่างใด แต่เมื่อเข้าสู่
ระยะที่ 2 ที่กรดเริ่มกัดลึกเข้าไปถึงเนื้อฟัน
คนไข้จะเริ่มสังเกตเห็นรู รอยสีดำ หรือน้ำตาลบนเนื้อฟัน และจะเริ่มมีอาการเสียวฟันเมื่อเคี้ยวอาหาร รวมทั้งเมื่อรับประทานอาหารที่มีความร้อนจัดหรือเย็นจัด ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอาการฟันผุจะลุกลามไปถึง
ระยะ 3 ซึ่งเป็นขั้นรุนแรงโดยเป็นการเข้าไปทำลายชั้นโพรงประสาทฟัน
ทำให้มีอาการปวดฟัน และมีกลิ่นปากเนื่องจากมีอาหารเข้าไปติดอยู่ในโพรงประสาทฟัน และสุดท้ายคือ
ระยะที่ 4 ซึ่งเป็นระยะที่เนื้อเยื่อโพรงประสาทฟันถูกทำลาย
จนลุกลานไปถึงปลายรากฟัน และเกิดหนอง มีอาการบวมฟันโยก ผู้ป่วยจะมีอาการปวดฟันเป็นช่วง ๆ ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีเชื้ออาจจะลุกลามเข้าสู่กระแสเลือดได้ ซึ่งการถอนฟัน เป็นการรักษาเมื่ออาการฟันผุ และอาการอักเสบลุกลามจนไม่สามารถรักษาด้วยวิธีอื่นได้อีกต่อไปแล้ว
ผ่าฟันคุด
การผ่าฟันคุดเป็นการรักษาเพื่อช่วยเเก้ไขปัญหาฟันที่มีลักษณะการขึ้นของฟันที่ผิดปกติ ทำให้เกิดเศษอาหารสะสมหรือดันไปชนกับฟันที่อยู่รอบๆเกิดการปวด คุณหมอเองจะทำการ X-ray ฟันควบคู่ไปด้วยเพื่อดูตำแหน่งการวางตัวของฟันก่อนวางแผนการรักษา
ฟันแบบไหนที่ต้องผ่าฟันคุด
ฟันคุดที่ขึ้นในเเนวนอน ไม่สามารถขึ้นตรงๆ ได้เหมือนฟันปกติมีเเนวพุ่งเข้าหาฟันกรามซี่ที่สอง หรือฟันที่มีทิศทางการขึ้นของตัวฟันที่เอียงๆ ทำให้มองเห็นว่าขึ้นได้บางส่วนแบบปริ่มๆ เหงือก
ขั้นตอนการผ่าตัดฟันคุด
- ทันตแพทย์ตรวจในช่องปากและดูลักษณะการขึ้นของฟันคุดเพื่อพิจารณาว่าจะต้องถอนหรือผ่า
- ทันตแพทย์ใช้ภาพถ่าย X-ray ประกอบ เพื่อตรวจสภาพฟัน รากฟันและกระดูกรองรับฟัน
- ทันตแพทย์สอบถามประวัติด้านสุขภาพของคนไข้ ที่อาจจะส่งผลหลังการผ่าตัดหรือถอนฟัน เช่น การหยุดไหลของเลือด โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ความดันโลหิต หรืออาการแพ้ยาอื่นๆ หากคนไข้มีโรคประจำตัวควรแจ้งทันตแพทย์ให้ทราบก่อนเข้ารับการผ่าฟันคุด
- ทันตแพทย์ฉีดยาชาบริเวณที่จะทำการผ่าตัด
- เริ่มผ่าตัดเปิดเหงือก เพื่อถอนฟันคุดออกมา
- ทันตแพทย์ทำการเย็บปิดปากแผล และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลรักษาหลังการถอนฟัน
การดูเเลสุขภาพหลังผ่าฟันคุด
หลังผ่าฟันคุด เลือดยังไม่หยุดไหลดี คนไข้ต้องกัดผ้าก็อซไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อห้ามเลือด ไม่ให้บ้วนน้ำลายนะคะ เพราะจะทำให้เลือดที่กำลังจะเเข็งตัวที่ปากแผลหลุดออก
คนไข้จะมีอาการปวดบวมตามมา คุณหมอเเนะนำวิธีง่ายๆ ที่จะช่วยลดบวม 2 วันแรกให้ประคบเย็นที่แก้มข้างที่ผ่าฟันคุด หลังจากนั้นให้เปลี่ยนเป็นประคบด้วยน้ำอุ่นต่อ ถ้าปวดมากสามารถรับประทานยาแก้ปวดเพื่อช่วยรักษาอาการปวดได้ ทานอาหารอ่อนๆ ที่ย่อยง่าย รักษาความสะอาดในช่องปากได้ตามปกติเลยค่ะ
ผ่าตัดกระดูกสันในเหงือก
กระดูกสันเหงือก คือ ส่วนที่เป็นปุ่มกระดูกในช่องปาก (Tori or Torus) มีลักษณะเป็นก้อนพูติดกันหรือเป็นก้อนเดี่ยวๆ มักพบบริเวณสันเหงือกด้านใกล้ลิ้นที่ขากรรไกรล่าง หรือกึ่งกลางเพดาน
ฟันแบบไหนที่ต้องผ่าตัดกระดูกสันเหงือก
การผ่าตัดตกแต่งสันเหงือก หรือการตัดปุ่มกระดูก เกิดขึ้นเพื่อจัดแต่งสันเหงือกให้เตรียมพร้อมกับการใส่ฟันปลอม
การใส่ฟันปลอมจะมีโครงฐานพาดผ่านบริเวณสันเหงือกที่มีปุ่มกระดูกนี้ ทำให้เกิดเป็นแผล ปุ่มกระดูกส่วนเกินนี้เป็นกระดูกที่งอกเกินที่มีความแหลมคม เเละเนื้อเยื่ออ่อนที่ขัดขวางการถอดใส่ฟันปลอม ทำให้ใส่ฟันปลอมไม่ได้
การผ่าตัดกระดูกเป็นตัวช่วยปรับความกว้างและความสูงของกระดูก สร้างเนื้อเยื่อเหงือกที่มีความแข็งแรงเพียงพอในการรองรับแรงจากการใช้งานฟันเทียม ลดส่วนคอดของกระดูก สร้างความลึกร่องเหงือกที่เหมาะสมต่อการใส่ฟันปลอม
ขั้นตอนการผ่าตัดกระดูก
- เริ่มจากทันตแพทย์ซักประวัติ และตรวจร่างกายทั่วไป เช็คโรคประจำตัวของคนไข้ที่เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน หรือมีการรับประทานยาละลายลิ่มเลือด คนไข้ทุกรายควรได้รับการเเจ้งจากทันตแพทย์เฉพาะทางทันตกรรมประดิษฐ์ ก่อนว่าจำเป็นต้องผ่าตัดเตรียมสันเหงือกเพื่อการใส่ฟัน
- ทันตแพทย์ตรวจในช่องปาก X-ray และพิมพ์ปาก เพื่อประเมินตำแหน่งที่จะต้องผ่าตัด และเตรียมเครื่องมือที่จะต้องใส่หลังจากผ่าตัดในบางเคส- ทันตแพททย์เริ่มผ่าตัดด้วยการฉีดยาชาเฉพาะที่ เเละเริ่มผ่าตัดเปิดเหงือกที่คลุมกระดูกออก เเละใช้เครื่องมือตัดหรือกรอเอากระดูกส่วนเกินตรงนี้ออก
- ทันตแพทย์ล้างแผล ฆ่าเชื้อด้วยน้ำเกลือเเละปิดเย็บแผล
- หากแผลมีความกว้างก็อาจจะมีการใส่เครื่องมือปิดแผลที่เรียกว่า Stent หรือ Obtulator เพื่อช่วยห้ามเลือดเเละป้องกันในการเคี้ยวอาหารด้วย
การดูเเลสุขภาพหลังผ่าตัดกระดูก
- ห้ามเลือดด้วยการกัดผ้าก๊อซที่บริเวณแผลประมาณ 1-2 ชั่วโมง ถ้าผ้าก๊อซยังมีเลือดซึมอยู่ให้เปลี่ยนผ้า และกัดผ้าก๊อซต่อไปอีก
- ไม่บ้วนเลือดหรือน้ำลายหลังการผ่าตัด การบ้วนเลือดจะทำให้เลือดหยุดไหลช้าลง
- ทานยาแก้ปวดและยาฆ่าเชื้อ ตามที่ทันตแพทย์สั่ง ยาฆ่าเชื้อต้องรับประทานจนหมดเพื่อลดการเกิดการดื้อยา
- รับประทานอาหารอ่อนๆ ย่อยง่ายๆ ในช่วง 1 สัปดาห์ เพื่อลดอาการปวดและการระคายเคืองแผล
- ทำความสะอาดด้วยการใช้ผ้าก๊อซชุบนำเกลือเช็ดเบาๆที่แผล เพื่อกำจัดคราบอาหารที่ติดตามแผลออก
- ไม่ควรดูดแผลหรือเขี่ยแผล เพราะอาจจะแผลอักเสบมากขึ้น อาจมีเลือดออกซ้ำ หรือเกิดการติดเชื้อได้
- หลังผ่าตัด 1 สัปดาห์ มาตัดไหมกับคุณหมอ
- ถ้ามีการใส่เครื่องมือชนิดถอดได้ในปาก ควรถอดมาทำความสะอาดด้วยน้ำสบู่และใส่กลับไปในช่องปากหลังจากทำความสะอาดเสร็จ
คำถามเกี่ยวกับศัลยกรรมช่องปาก
จะผ่าฟันคุดต้องรอให้เห็นฟันขึ้นก่อนมั้ย ?
การผ่าฟันคุดไม่จำเป็นต้องรอจนฟันคุดงอกขึ้นมา สามารถผ่าได้เลยเมื่อมีอายุตั้งเเต่ 17 – 25 ปี ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม รากฟันมีการสร้างตัว 2 ใน 3 ส่วน ทำให้ผ่าได้ง่าย ยิ่งอายุมากขึ้นกระดูกก็ยึดกับปลายรากฟันมากขึ้น ปลายรากฟันที่อยู่ใกล้กับเส้นประสาทมาก ทำให้การผ่าตัดซับซ้อนขึ้นด้วย
หลังถอนฟันกี่ชั่วโมงถึงจะกินข้าวได้ ?
ปกติเลือดจะหยุดไหลภายใน 24 ชั่วโมง เเนะนำว่าให้กัดผ้าก๊อซไว้หนึ่งชั่วโมงห้ามเลือดเเละใน 12 ชั่วโมงหลังผ่าไม่ให้บ้วนน้ำลาย หรือบ้วนปากด้วยน้ำ ในเรื่องการทานอาหาร ก็เน้นทานอาหารอ่อนๆ ที่ไม่ต้องเคี้ยวได้เลยนะคะ เพื่อไม่ให้แผลระบม
ถอนฟันมา 3 วันเเล้วยังปวดบริเวณหลุมฟันทำยังไงดี
อยากให้ลองดูกลับมาดูเเลสุขภาพเเละความสะอาดก่อนค่ะ แปรงฟัน 2 ครั้งเช้าเย็น เอาเศษอาหารที่อาจติดอยู่ตามหลุมฟันออกด้วย รับประทานอาหารอ่อนๆ ที่มีประโยชน์ ทานยาแก้ปวดตามที่แพทย์สั่งได้ถอนฟันให้ดี ปกติอาการปวดฟันควรจะหายภายใน 2-3 วัน
ถ้ามียังปวดนานกว่าหรือปวดมากขึ้นเรื่องๆ อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้น เช่น แผลอักเสบ หรือติดเชื้อ มีภาวะเลือดแข็งตัวผิดปกติ มีกลิ่นปากเหม็นผิดปกติ มีเลือดไหล ควรกลับไปพบทันตแพทย์