รากฟันเทียม รากเทียม คำที่คุ้นหู ที่หลายคนเข้าใจผิดว่าจะต้องทำกับคนที่มีอายุมากแล้วเท่านั้น อาจจะรู้สึกว่าไกลตัว มาทำความรู้จัก และ ประสิทธิภาพของรากฟันเทียมว่ามีจุดเด่น และ สามารถรักษาฟันแบบไหนได้บ้าง
การสูญเสียฟันเเท้นั้นเป็นปัญหาที่ส่งผลระยะยาวเเละไม่มีใครอยากให้เกิด เเต่เราสามารถรักษาได้ด้วยการ ทำรากเทียม ค่ะ ซึ่งปัจจุบันต้องยอมรับว่าเป็นฟันปลอมที่ดีที่สุด มีความเป็นธรรมชาติไม่ต่างจากฟันแท้ ทั้งยังสามารถทำได้แทบทุกคน คุณหมอชี้เเจงไขข้อข้องใจสำหรับใครที่มีความกังวลหรือสงสัย ให้เข้าใจกันการทำรากฟันเทียมกันมากขึ้นกันค่ะ
- 1. รากฟันเทียม คือ อะไร
- 2. รากฟันเทียมทำจากอะไร
- 3. ส่วนประกอบของ รากฟันเทียม
- 4. หลักการทำงานของรากเทียม
- 5. รากฟันเทียมเหมาะกับใคร
- 6. ใครที่ไม่เเนะนำให้รักษาด้วยการทำรากเทียม
- 7. ข้อดีของรากฟันเทียม
- 8. ข้อจำกัดของรากฟันเทียม
- 9. ทำรากฟันเทียม เจ็บไหม ?
- 10. การทำรากฟันเทียม มีระยะพักฟื้นนานมั้ย
- 11. ประเภท ของ รากฟันเทียม
- 12. รูปแบบการทำรากฟันเทียม
- 13. เตรียมตัวอย่างไรก่อนไปทำรากเทียม
- 14. รากฟันเทียมมีขั้นตอนการทำอย่างไร
- 15. อาการหลังรักษารากฟัน
- 16. วิธีดูเเลฟันหลังทำ รากฟันเทียม
- 17. คำถามที่พบบ่อยๆเรื่องการทำรากฟันเทียม
รากฟันเทียม คือ อะไร
รากฟันเทียม หรือ ทันตกรรมรากเทียม (dental implant) คือ การแก้ปัญหาการสูญเสียฟันแท้ที่หลุดไปด้วยการผ่าตัด ฝังโครงรากฟันเทียมเพื่อยึดติดกับกระดูกขากรรไกรของคนไข้ ตรงตำแหน่งที่สูญเสียฟันเเละรากฟันธรรมชาติไป จากนั้นทันตแพทย์อาจจะทำฟันปลอม หรือครอบฟันมายึดติดกับราก ทดแทนฟันที่หลุดไป เพื่อให้ฟันบดเคี้ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพเทียบเท่าฟันจริง
ขณะที่การทำฟันปลอมแบบอื่น ๆ อาจจะพบปัญหาเรื่องความไม่เป็นธรรมชาติ มีการเคี้ยวอาหารที่ติดขัดอยู่บ่อยๆ รากฟันเทียมเป็นทันตกรรมฟันปลอมแบบติดแน่นที่มีคุณสมบัติเหมือนฟันธรรมชาติ จึงเป็นทางออกที่ดีที่สุด ที่ช่วยทำให้ฟันยังคงอยู่ครบ ทานอาหารได้ราบรื่นกว่า ไม่ต้องวุ่นวายถอดฟันปลอม และดูแลทำความสะอาดได้ง่ายแสนง่ายไม่ต่างจากฟันแท้ของเรา โดยเฉพาะถ้าได้รับการดูแลรักษารากฟันเทียมด้วยทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ก็จะยิ่งทำให้คุณทานอาหารได้ง่าย พูดคุย และยิ้มได้อย่างมั่นใจ
รากฟันเทียมทำจากอะไร
รากฟันเทียมผลิตจากไทเทเนียมบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นวัสดุที่ออกแบบมาเพื่อให้เข้ากับร่างกายมนุษย์ได้เป็นอย่างดี ใช้ฝั่งเพื่อยึดติดกับกระดูกขากรรไกร ทดแทนรากฟันธรรมชาติ รากฟันเทียมจะยึดติดกับตัวครอบฟันที่ทำจากวัสดุเซรามิก ให้รูปลักษณ์เหมือนกับตัวฟันตามธรรมชาติ
ส่วนประกอบของ รากฟันเทียม
รากฟันเทียมประกอบด้วยส่วนหลักๆ 3 ส่วน ดังนี้
- Screw : ส่วนที่ฝังอยู่ใต้เหงือก
มีลักษณะเป็นสกรูทำจากไทเทเนียมนี้ ทำหน้าที่เป็นรากฟัน ยึดตัวฟันเทียมให้มั่นคงเเข็งเเรง ด้วยการฝังเข้าไปในกระดูกขากรรไกร - Abutment : ส่วนที่อยู่ระหว่างรากฟันเทียม (Screw) เเละครอบฟัน (Crown)
ทำหน้าที่ทดแทนโครงสร้างของแกนฟัน เพื่อรองรับตัวครอบฟัน มักยึดติดส่วนนี้ไว้ด้วย Screw - Crown : ส่วนของตัวฟัน
ทำมาจากเซรามิก ลอกเลียนสีและรูปร่างของฟันธรรมชาติเป็นส่วนที่ใช้บดเคี้ยวอาหารโดยตรง
หลักการทำงานของรากเทียม
รากเทียมจะทำงานร่วมกับกระดูกขากรรไกร เมื่อทั้งสองอย่างประสานกันได้สนิทแล้ว จะทำให้เกิดการรองรับฟัน ส่งผลให้ฟันปลอมหรือที่ยึดฟันปลอม ที่ทำงานร่วมกับรากเทียมไม่เลื่อนหรือลื่นออกจากจุดที่ต้องการ ซึ่งจะมีประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะตอนที่พูดและรับประทานอาหาร การฝังรากเทียมนี้ ช่วยในการทำฟันปลอม การครอบฟัน และที่ยึดฟันปลอมบนรากเทียม ให้ความรู้สึกที่เป็นธรรมชาติมากกว่าฟันปลอมหรือการทำฟันปลอมแบบธรรมดา
เพราะในคนไข้หลายคน การทำฟันปลอมหรือที่ยึดฟันปลอมแบบธรรมดาไม่ได้ให้ความรู้สึกสบาย อาจมีบางจุด ที่ทำให้เจ็บ นูน หรือยื่นออกมา บางครั้งอาจมีความรู้สึกคลื่นไส้ร่วมด้วย นอกจากนั้นการที่ยึดฟันปลอมแบบธรรมดาต้องใช้ติดกับฟัน หรือช่องว่างของฟันที่เหลือจากฟันที่หายไป
ประโยชน์ของการทำรากเทียมอีกอย่างหนึ่งก็คือ ไม่ต้องกรอฟัน เพื่อที่จะเตรียมแนบสะพานฟันให้ติดกับฟัน แต่สามารถเจาะลึกลงไปในฟันที่จะแทนที่ได้เลย
การเตรียมตัวสำหรับการฝังรากฟันเทียม คนไข้จำเป็นจะต้องมีสุขภาพเหงือกที่แข็งแรง และมีกระดูกมากเพียงพอที่จะรองรับรากฟัน ดังนั้นต้องรักษาสุขภาพของเหงือก และกระดูกให้สมบูรณ์ ด้วยการดูแลความสะอาดของช่องปากอย่างละเอียดถี่ถ้วน และไปพบทันตแพทย์ตามระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งจะทำให้การฝังรากฟันมีอายุการใช้งานได้นานยิ่งขึ้น
รากฟันเทียมเหมาะกับใคร
- ผู้ที่สูญเสียฟันแท้จากอุบัติเหตุ
- ผู้ที่มีฟันแตก หัก ซึ่งควรได้รับการถอนฟันจากทันตแพทย์ และทำรากฟันเทียมเพื่อทดแทนฟันที่เสียไป
- เหงือกบริเวณที่จะทำการปลูกรากฟันเทียม ไม่มีการอักเสบหรือติดเชื้อ ซึ่งอาจส่งผลให้การปลูกรากฟันเทียมล้มเหลวได้
- ผู้ที่ทำฟันปลอมแบบถอดได้ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ
- ผู้ที่ต้องการใส่ฟันเพียงซี่เดียว โดยฟันข้างเคียงยังอยู่ในสภาพดี
- ผู้ที่ใส่ฟันปลอมทั้งปากแต่ประสบกับปัญหากระดูกขากรรไกรล่างยุบตัวลงมาก ทำให้ฟันปลอมหลุดได้ง่าย ซึ่งการฝังรากฟันเทียมจะช่วยยึดฟันปลอมให้แน่นขึ้น
- ผู้ที่ไม่ต้องการกรอฟันในการทำสะพานฟันติดแน่น
- ผู้ที่ไม่ชอบใส่ฟันปลอมแบบถอดได้
ใครควรใส่รากฟันเทียม
รากฟันเทียมสามารถทำได้ในคนไข้ที่สูญเสียฟันเเท้ไปทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งฟันที่อยู่บริเวณด้านหน้า หรือฟันที่ไม่สามารถใช้ฟันซี่อื่นๆบริเวณข้างๆได้ ก็จะเหมาะสมกับการทำรากเทียม เเต่เเนะนำว่าคนไข้ควร อายุตั้งเเต่ 18 ปีขึ้นไป เนื่องจากเด็กที่ยังอายุไม่ถึง 18 ปี กระดูกขากรรไกรยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่
ใครที่ไม่เเนะนำให้รักษาด้วยการทำรากเทียม
- ผู้หญิงที่มีภาวะตั้งครรภ์อยู่ ควรทำหลังคลอดเสร็จเรียบร้อยเเล้ว
- คนไข้ที่มีโรคประจำตัวแต่ควบคุมไม่ได้ เช่น โรคเบาหวาน โรคมะเร็งที่ต้องรับการรักษาด้วยการฉาายรังสีบริเวณใบหน้าเเละช่องปาก โรคปริทันต์อักเสบรุนเเรง โรคลูคิเมีย โรคไฮเปอร์ไทรอยด์
- คนไข้ที่มีอาการอื่นๆ ที่การรักษาอาจจะไม่ได้ผลดี เช่น ผู้ป่วยที่ต้องรับยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ที่สูบบุหรี่ผู้ป่วยที่มีอาการไขข้ออักเสบรุนเเรง
ข้อดีของรากฟันเทียม
หลังปลูกรากฟันเทียมไปสักระยะเเล้ว รากฟันจะยึดเข้ากับกระดูกขากรรไกร มีการเข้ากับเนื้อเยื่อในช่องปากได้ดี ข้อดีที่เป็นจุดเด่นของรากฟันเทียมคือ ฟันปลอมแบบยึดติดเเน่น ที่ทำหน้าที่คล้ายฟันธรรมชาติมากที่สุด
- ประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวอาหาร ทำงานได้ดีไม่ต่างจากฟันธรรมชาติ
- ไม่ใช่เเค่สวยงามใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติ เเต่ให้ความรู้สึกเหมือนฟันธรรมชาติมากกว่าฟันปลอมแบบอื่น
- ไม่มีปัญหากับการออกเสียง เมื่อเทียบกับฟันเทียมชนิดอื่น ๆ
- ป้องกันการสูญเสียฟันและกระดูกข้างเคียง
- ดูแลทำความสะอาดง่าย เสริมสร้างสุขภาพช่องปาก
- เมื่อร่วมกับฟันเทียมแบบถอดได้ หมดปัญหาฟันเทียมขยับระหว่างพูดคุย หรือรับประทานอาหาร
- มีความคงทนถาวร
- ไม่ต้องกรอแต่งฟันข้างเคียง
- ช่วยเพิ่มความมั่นใจ และทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
- มีความปลอดภัยสูง เเละสามารถใช้รักษาร่วมกับสะพานฟันเเละครอบฟัน สำหรับคนไข้ที่มีฟันแท้เหลือน้อย หรือผู้ที่ต้องการทำฟันปลอมได้อีกด้วย
ข้อจำกัดของรากฟันเทียม
- ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับฟันปลอมแบบอื่น
- การทำรากฟันเทียม มีการผ่าตัดเเละใช้เวลาในการรักษานานกว่าฟันปลอมเเบบอื่น เพราะต้องรอให้กระดูกยึดเข้ากับรากเทียม
- ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวบางอย่างไม่ทำรากเทียมได้ ควรปรึกษาทันตแพทย์
- กรณีที่สูญเสียฟันไปเป็นระยะเวลานึงเเละจะมีอาการกระดูกขากรรไกรยุบ หรือกระดูกละลายตัว การทำรากเทียมอาจได้ฟันปลอมที่ไม่สวยเหมือนธรรมชาติ
ทำรากฟันเทียม เจ็บไหม ?
90% ของการทำรากฟันเทียมจะทำภายใต้ยาชาเฉพาะที่ จึงรู้สึกเจ็บเพียงเล็กน้อยขณะฉีดยาชา แต่เมื่อยาชาออกฤทธิ์เต็มที่คนไข้จะไม่มีความรู้สึกเจ็บปวดเลย ส่วนอาการเจ็บปวดภายหลังการผ่าตัดจะมากน้อยแตกต่างกันไป ซึ่งเกิดจากความแตกต่างของลักษณะสันกระดูก ปริมาณของกระดูก และคุณภาพของเนื้อเยื่อเหงือกในบริเวณที่รับการรักษา
ในรายที่มีปริมาณกระดูกเพียงพอ กระดูกมีคุณภาพดี การฝังรากฟันเทียมทำได้ง่าย มีความเจ็บปวดใกล้เคียงกับการถอนฟัน และใช้เวลาพักฟื้นเพียง 1-2 วันเท่านั้น
ส่วนกรณีคนไข้มีกระดูกรองรับรากเทียมไม่เพียงพอ หรือมีเนื้อเยื่อเหงือกที่คุณภาพไม่ดี ต้องมีขั้นตอนการผ่าตัดเสริมกระดูก หรือเสริมเนื้อเยื่อเหงือก ก็จะมีระยะการพักฟื้นที่นานกว่า
การทำรากฟันเทียม มีระยะพักฟื้นนานมั้ย
ปกติการทำรากเทียมใช้เวลาพักฟื้นเพียง 1-2 วันเท่านั้น ถ้าคนไข้มีกระดูกรองรับรากเทียมไม่เพียงพอ หรือมีเนื้อเยื่อเหงือกที่คุณภาพไม่ดี ต้องมีขั้นตอนการผ่าตัดเสริมกระดูก หรือเสริมเนื้อเยื่อเหงือก ก็จะมีระยะการพักฟื้นที่นานกว่า
ประเภท ของ รากฟันเทียม
รากฟันเทียมแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
- Conventional implant
- Immediate implant
- Immediate loaded implant
การฝังรากเทียมแบบธรรมดา Conventional implant
การฝังรากเทียมแบบธรรมดา ใช้ได้ในคนไข้ที่ทำรากฟันซี่เดียวเเละหลายซี่ ในการฟื้นฟูรากฟันแบบถาวรนี้ มีขั้นตอนการรักษา 2 ช่วง คือ เมื่อทันตแพทย์ฝังรากเทียมเเล้วต้องรอให้กระดูกยึดกับรากเทียมก่อนใช้เวลาราวๆ 3 เดือน หลังจากนั้นจึงจะติดฟันปลอมเข้ากับรากเทียมได้
วิธีการปลูกถ่ายแบบธรรมดานี้ถือว่ามีข้อจำกัดในการรักษาน้อย สามารถรักษาได้ครอบคลุมทุกสภาพกระดูก เเต่กรณีที่มีการสูญเสียกระดูกระดับปานกลางจนถึงขั้นรุนแรงในบริเวณที่จะต้องฝังรากฟันเทียม ทันตแพทย์จะเเนะนำให้ปลูกกระดูกก่อน
การฝังรากเทียมแบบทันที (Immediate Implant)
การฝังรากเทียมแบบทันที ใช้ระยะเวลาในการปลูกถ่ายเพียงแค่หนึ่งวัน เป็นการใส่รากฟันเทียมในเวลาเดียวกันหลังจากถอนฟัน ข้อดีของการปลูกถ่ายแบบทันที คือลดขั้นตอนและระยะเวลาการรักษาลง ทำให้การละลายของกระดูก และโอกาสการเกิดเหงือกร่นลดลงด้วย
โดยทั่วไปการปลูกถ่ายแบบทันทีนี้จะเหมาะสำหรับคนไข้ที่มีสภาพกระดูกขากรรไกรที่สมบูรณ์ดี ตำแหน่งฟันที่เหมาะสำหรับวิธีการนี้คือ ฟันหน้า หรือฟันกรามน้อย ต้องไม่มีพยาธิสภาพที่ปลายรากฟันที่จะถอน และจำเป็นต้องมีปริมาณกระดูกเพียงพอให้รากฟันเทียมยึดด้วย
การเชื่อมต่อส่วนของฟันปลอม Immediate Loaded Implant
การเชื่อมต่อส่วนของฟันปลอม เช่น การทำครอบฟันแบบชั่วคราวหรือแบบถาวร หลังจากฝังรากเทียมที่บริเวณกระดูกขากรรไกรเเล้ว อุปกรณ์ฟันปลอมแบบใส่ได้ทันทีจะเหมาะกับคนไข้ที่มีสภาพกระดูกขากรรไกรดี
รูปแบบการทำรากฟันเทียม
ทันตแพทย์สามารถเลือกรูปแบบการรักษาด้วยรากฟันเทียม ช่วยในการใส่ฟันทดแทนให้กับคนไข้ได้หลายวิธี เช่น
– กรณีที่มีฟันหายเพียง 1 หรือ 2 ซี่ การใส่ฟันเทียมแบบติดแน่นทำได้ 2 วิธี คือการทำรากฟันเทียม และสะพานฟัน แต่การทำรากฟันเทียมเป็นวิธีใส่ฟันที่ได้ผลดีที่สุด และยังมีข้อดีมากกว่าการใส่สะพานฟัน เพราะไม่ต้องกรอฟันข้างเคียง ทำความสะอาดได้ง่ายกว่า ส่วนวิธีสะพานฟัน จะมีส่วนครอบของฟันติดกันทั้งหมด ทำให้หากมีซี่ใดซี่หนึ่งมีปัญหา จะต้องรื้อออกทั้งหมด ในฟันที่ไม่แข็งแรงการใส่สะพานฟันอาจทำอันตรายต่อฟันหลักยึดได้
– กรณีที่ฟันหายไป 1 ซี่ในหลายตำแหน่ง สามารถใส่ฟันเทียมเพื่อรองรับครอบฟันได้ หรือหากมีฟันหายหลายซี่ติด ๆ กัน ทันตแพทย์ก็สามารถทำการฝังรากฟันเทียมเพื่อรองรับสะพานฟันได้ ซึ่งมีข้อดีคือสามารถลดจำนวนรากฟันเทียมลง หรือใช้ในบริเวณที่ไม่สามารถฝังรากฟันเทียมเท่ากับจำนวนฟันที่หายไปได้
– กรณีที่มีฟันหายไปเป็นจำนวนมาก โดยรากฟันเทียมจะช่วยให้ฟันเทียมแบบถอดได้แน่นขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องใส่ตะขอฟันปลอม หรือทำให้ส่วนของเหงือกปลอมสั้นลง
– ทดแทนฟันที่หายไปทั้งปาก รากฟันเทียมสามารถช่วยทดแทนฟันได้ทั้งแบบติดแน่น และแบบถอดได้ โดยแบบติดแน่นทันตแพทย์จะทำการฝังรากเทียมจำนวน 4, 6 หรือ 8 ตัวต่อ 1 ขากรรไกร ส่วนแบบถอดได้จะฝังรากฟันเทียมจำนวน 2-4 ตัว
เตรียมตัวอย่างไรก่อนไปทำรากเทียม
- ก่อนจะเข้ารับการรักษาด้วยรากฟันเทียม คุณต้องได้รับการตรวจและประเมินโดยละเอียดจากทันตแพทย์เฉพาะทาง หรือทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการรักษาในภายหลัง อีกทั้งทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญยังสามารถเลือกรากเทียมที่เหมาะสมกับคนไข้ มีความเข้าใจในขั้นตอนของการทำทันตกรรมประดิษฐ์
- ในกรณีที่คนไข้มีโรคประจำตัว มียาที่ต้องรับประทานเป็นประจำ มีประวัติการแพ้ยา ต้องแจ้งท้นตแพทย์ก่อนทำการผ่าตัด
- กรณีที่มีประวัติเกี่ยวกับลิ้นหัวใจ หรือเปลี่ยนข้อเทียม อาจจำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะ ก่อนการรักษาในบางกรณี จึงควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบล่วงหน้า
- วางแผนการรักษาร่วมกับทันตแพทย์ทั้งเรื่องชนิดของรากฟันเทียม หรือฟันเทียมที่เลือกใช้ในแผนการรักษา เพื่อผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพ
รากฟันเทียมมีขั้นตอนการทำอย่างไร
ขั้นตอนการทำรากฟันเทียม ไม่ว่าจะเป็นเพื่อทดแทนฟันหนึ่งซี่ฟันหรือหลายซี่ที่หายไป มีขั้นตอนหลักๆ ดังนี้
- ทันตแพทย์จะตรวจสภาพช่องปากอย่างละเอียด
ด้วยการ X-ray แบบพาโนรามา เเละ CT Scan เพื่อประเมินความหนาของกระดูกขากรรไกรและเนื้อเยื่อบนสันเหงือก อาจทำการพิมพ์ปากเพื่อวางแผนการรักษา และกำหนดตำแหน่งที่เหมาะสมของรากฟันเทียม - การเตรียมพื้นที่สำหรับการฝังรากเทียม
การฝังรากฟันนั้นทันตแพทย์จะตรวจสอบสภาวะกระดูกเเละการติดเชื้อ เพื่อเตรียมพื้นที่ให้เหมาะการฝังรากฟัน ถ้ามีการติดเชื้อต้องทำการรักษาก่อน อาจใช้เวลาตั้งเเต่ 2-3 สัปดาห์ – 2 เดือน
ถ้ามีสภาวะที่โครงสร้างกระดูกไม่เพียงพอกับการทำรากฟันเทียม อาจจะต้องปลูกถ่ายกระดูกเพิ่มก่อน เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพ - การวางรากเทียม
เทันตแพทย์จะฉีดยาชาเฉพาะที่ จากนั้นทำการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมลงไปในกระดูกขากรรไกร เย็บปิดแผล ประมาณ 7-14 วันจะตัดไหมที่เย็บออก รออีก 3-4 เดือนเพื่อให้รากฟันเทียมยึดติดกับกระดูกขากรรไกรอย่างสมบูรณ์ - ระยะฟื้นฟูหลังผ่าตัดฝังรากเทียมเสร็จ
รากฟันเทียมจะผสานกับกระดูกขากรรไกร หากใส่รากฟันเทียมแบบทันที (Immediate Implant) สามารถดำเนินการรักษาตามขั้นตอนที่ 5 ต่อได้ กรณีที่ไม่ได้ใส่รากฟันเทียมแบบทันที ต้องรอให้รากฟันเทียมเชื่อมต่อกับกระดูกประมาณ 2 ถึง 6 เดือน ก่อนที่จะทำขั้นตอนที่ 5
หลังจากเย็บแผล 7 – 10 วัน ทันตแพทย์จะนัดเพื่อทำการตัดไหม - คุณหมอติดตั้งวัสดุที่เป็นหลักยึด (Abutment)
มีลักษณะเป็นแกนโลหะหัวกลมๆติดอยู่กับรากฟันเทียม เมื่อมีการเลือกครอบฟันหรือสะพาน จะมีวัสดุค้ำนี้เพื่อรองรับครอบฟันหรือสะพาน ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่นี้ ตัวรากฟันเทียมรวมเป็นชิ้นเดียวกับวัสดุหลักยึดเลย - ใส่เครื่องมือที่ช่วยสร้างร่องเหงือก
จากนั้นอีก 1-2 สัปดาห์ จะทำการพิมพ์ปากเพื่อส่งทำครอบฟัน - ทันแพทย์ติดตั้งครอบฟันหรือสะพานฟัน หรือ Overdenture
ไว้กับโลหะที่เป็นหลักยึดดังกล่าวด้วยสารยึดติดทางทันตกรรม
หลังการผ่าตัดฝังรากเทียมคนไข้ก็จะมีฟันที่สวยงาม มีประสิทธิภาพในการใช้งานไม่ต่างจากฟันธรรมชาติ
อาการหลังรักษารากฟัน
- คนไข้อาจมีการปวดบวมภายหลังการผ่าตัดอาจเกิดขึ้นได้ประมาณ 5-7 วัน ไม่ต้องกังวลนะคะ ให้รับประทานยาที่ได้รับอย่างต่อเนื่อง ก็จะทำให้แผลหายได้เป็นปกติ
- กรณีที่มีอาการผิดปกติภายหลังการผ่าตัด 1-2 วัน เช่น มีหนอง มีไข้ มีอาการชาบริเวณคาง ริมฝีปาก หรือลิ้น ปวดบวมรุนแรงหรือมีเลือดออกบ่อย ให้กลับมาพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสอบอาการทันที
วิธีดูเเลฟันหลังทำ รากฟันเทียม
ช่วงหลังจากฝังรากเทียมใหม่ๆ ควรปฏิบัติตัวดังนี้
- รับประทานเฉพาะอาหารเหลวก่อนในช่วงวันแรก เพื่อหลีกเลี่ยงเศษอาหารปนเปื้อนแผล สามารถรับประทานอาหารกึ่งเหลว หรืออาหารบดในช่วงวันที่ต่อๆมาได้
- หลีกเลี่ยงการกัดหรือเคี้ยวอาหารแข็งหรือเหนียวเกินไป ช่วง 1-2 เดือน เพื่อป้องกันแรงกระแทกที่จะเกิดขึ้นกับรากเทียมที่เพิ่งฝังเข้าไป
- หลีกเลี่ยงอาหารหรือเครื่องดื่มที่ร้อนหรือเย็นมากในวันแรกหลังการผ่าตัด
- อาการบวมหลังผ่าตัดถือเรื่องเป็นเรื่องปกติ สามารถรับประทานยาที่ได้รับอย่างต่อเนื่องเพื่อลดอาการอักเสบ
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- คนไข้สามารถดูเเลรักษาความสะอาดของฟันได้ตามปกติ เหมือนฟันธรรมชาติ แปรงฟันให้ถูกวิธี ใช้ไหมขัดฟันกำจัดเศษอาหารตามซอกฟัน
- แนะนำให้ใช้น้ำยาบ้วนปากล้างน้ำยาฆ่าเชื้อ ตามที่คุณหมอสั่ง
- พบทันตแพทย์ตามนัดทุกครั้ง และทำตามคำแนะนำของคุณหมออย่างสม่ำเสมอ
- หากมีพฤติกรรมขบเคี้ยวฟัน หรือนอนกัดฟัน ควรพบทันตแพทย์เพื่อแก้ไขภาวะดังกล่าว
คำถามที่พบบ่อยๆเรื่องการทำรากฟันเทียม
ค่ารักษาที่สูง มาจากวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ปลูกรากเทียมนั้นมีหลายส่วน ต้องใช้เครื่องมือทางทันตกรรมเฉพาะทางที่มีความละเอียดสูง นำเข้าจากต่างประเทศ ดูเเลภายใต้ทันตแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทางรากฟันเทียม
ในคนไข้ที่มีกระดูกไม่เพียงพอที่จะสามารถฝังรากเทียม ตามขนาดที่เพียงพอสำหรับรับแรงบดเคี้ยว
รากเทียมมีความทนทานเเละใช้งานได้เหมือนกันฟันจริง อายุการใช้งานของรากฟันเทียมนั้นอยู่ได้นานถึง 10 – 20 ปี หรือนานกว่านั้น อยู่ที่การดูเเลรักษาความสะอาดให้ดีอย่างสม่ำเสมอ
การรักษาฟันด้วยการทำรากเทียม มีข้อดีคือ ทำความสะอาดง่าย เนื่องจากยึดติดไม่ต่างจากฟันจริง ดังนั้นจึงมีความแข็งแรงที่มาก การแปรงฟัน หรือทำความสะอาดอื่นใดจึงเป็นเรื่องที่ทำได้ง่าย ไม่ต้องคอยประคับประคอง หรือถอดเข้าถอดออกบ่อยครั้งเหมือนฟันปลอมแบบอื่น ๆ
เมื่อคนไข้สูญเสียฟันเเท้ไป ตามปกติจะเกิดพื้นที่ว่างระหว่างช่องฟัน ทำให้เคี้ยวอาหารไม่ดีเท่าที่ควร และอาจทำให้กระดูกยึดฟันสลาย จนเป็นผลให้ฟันข้าง ๆ ล้มและเกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาได้ การทำรากเทียม หรือใส่ฟันปลอมจะเป็นตัวช่วยรักษารากและกระดูกฟันเอาไว้
ขณะทำรากฟันเทียมจะมีการใช้ยาชาเฉพาะที่ คนไข้จะไม่มีความรู้สึกเจ็บปวดเลย แต่เจ็บปวดภายหลังการผ่าตัดจะมากน้อย ขึ้นอยู่กับลักษณะสันกระดูก ปริมาณของกระดูก เนื้อเยื่อเหงือกในบริเวณที่รับการรักษา
ในรายที่มีปริมาณกระดูกเพียงพอ กระดูกมีคุณภาพดี การฝังรากฟันเทียมทำได้ง่าย มีความเจ็บปวดใกล้เคียงกับการถอนฟัน
โดยปกติทันตแพทย์จะแนะนำให้ทำการจัดฟันให้เสร็จก่อน ค่อยมารักษาด้วยการทำรากฟันเทียม เนื่องจากรากฟันเทียมจะไม่มีการเคลื่อนที่ได้เหมือนฟันธรรมชาติ ทำให้ไม่สามารถจัดฟันในตำแหน่งที่ทำรากฟันเทียมได้ แต่ถ้ารากฟันเทียมไม่ได้อยู่ในตำแหน่งที่มีผลต่อการเคลื่อน หรือต้องการให้เคลื่อนฟัน ก็พอจะจัดฟันได้
การทำรากฟันเทียม จะแบ่งการรักษาเป็น 2 กระบวนการ คือขั้นตอนการผ่าตัดฝังรากเทียม และขั้นตอนการใส่ฟันบนรากเทียม ในอดีต 2 ขั้นตอนนี้จะห่างกันประมาณ 4-6 เดือน แต่ด้วยวิทยาการความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน การผ่าตัดฝังรากเทียมในรายที่กระดูกมีคุณภาพดีสามารถใส่ฟันได้ทันที หรือภายหลังการฝังรากฟันเทียมเพียง 2-3 เดือน โดยการระยะเวลาในการรักษาจะแตกต่างกันไปตามปริมาณ และคุณภาพของกระดูกรองรับรากเทียม
อุปกรณ์การรักษาที่ติดตั้งอยู่ภายในช่องปาก และปัญหาที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคลอาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการรากฟันเทียมอักเสบได้ ผู้ที่เข้ารับการรักษารากฟันเทียมจึงต้องดูแลเอาใจใส่ช่องปากมากเป็นพิเศษ ด้วยการหลีกเลี่ยงของขบเคี้ยวแข็ง ๆ เพื่อลดแรงบดเคี้ยวที่ส่งผลต่อรากฟันเทียม หลีกเลี่ยงอาหารที่ร้อนหรือเย็นจัด เพราะอาจทำให้แผลผ่าตัดหายช้า
ที่สำคัญไม่ควรใช้ฟันกระทบกับสิ่งแปลกปลอม และหลังจากรับประทานอาหารทุกครั้งควรจะบ้วนน้ำเกลือหรือน้ำยาบ้วนปากชนิดอ่อนเพื่อรักษาสุขภาพช่องปาก และไม่เพิ่มแบคทีเรียบริเวณรากฟันเทียม แต่หากเกิดอาการอักเสบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรพบทันตแพทย์ทันที