ฟันคุด เป็นปัญหาในช่องปากลำดับต้นๆ ที่คนส่วนใหญ่เจอ โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ต้องทำการจัดฟัน ก็จะคุ้นเคยกันดี
สงสัยมั้ยคะว่า ฟันคุดเกิดจากอะไร คุณจะรู้ได้อย่างไรว่ามีฟันคุด จำเป็นต้องผ่าฟันคุดมั้ย หรือถอนฟันคุดได้เลย เริ่มปวดฟันคุดต้องเตรียมรักษายังไง มาดูคำตอบข้อสรุปว่า จะมีฟันคุดต้องรู้อะไร้บ้าง ก่อนปัญหาบานปลายกันดีกว่าค่ะ
การรักษาฟันคุด
- 1. ฟันคุด คืออะไร (Impacted Tooth, Wisdom Tooth)
- 2. ข้อเสีย ของการมีฟันคุด (วีดีโอ)
- 3. ข้อเสียของฟันคุด ไม่ผ่า ไม่ถอน ไม่รักษาได้มั้ย
- 4. ฟันคุด มีกี่แบบ ลักษณะของฟันคุด
- 5. วิธีสำรวจว่ามีฟันคุด (เบื้องต้น) หรือไม่ ด้วยตัวเอง
- 6. ทำไมต้องผ่าฟันคุด
- 7. วิธีเตรียมตัวก่อนไป ผ่าฟันคุด
- 8. ขั้นตอนการผ่าฟันคุด
- 9. การดูแล หลังผ่าฟันคุด ทำยังไง
- 10. คำถามเกี่ยวกับฟันคุด
- 11. ผ่าฟันคุด ถอนฟันคุด ราคา เท่าไหร่
ฟันคุด คืออะไร (Impacted Tooth, Wisdom Tooth)
ฟันคุด คือ ฟันกรามซี่ในสุด จะมีทั้งหมด 4 ซี่ด้วยกัน ด้านบนและล่าง ของทั้งฝั่งซ้าย และขวา โดยเป็นฟันที่ไม่สามารถขึ้นได้ตามปกติเพราะมีพื้นที่ให้ฟันขึ้นมาได้ไม่เพียงพอ หรือ มีฟันซี่อื่นๆมาขวางทิศทางการขึ้นของฟันไว้ บางซี่อาจจะมีโผล่ขึ้นมาได้เป็นบางส่วน หรือถูกฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกรทั่งซี่ โดยมากอาการฟันคุดมักเกิดบ่อยที่สุด กับฟันกรามล่างซี่ล่างสุดท้าย ซึ่งอยู่ด้านในสุดของขากรรไกรล่าง แต่ฟันซี่อื่นที่จะได้รับผลกระทบทำให้เกิดปัญหาตามตำแหน่งก็เป็นฟันคุดได้เหมือนกัน เช่น ฟันกรามน้อย ฟันเขี้ยว ฟันหน้า
ข้อเสีย ของการมีฟันคุด (วีดีโอ)
ข้อเสียของฟันคุด ไม่ผ่า ไม่ถอน ไม่รักษาได้มั้ย
ฟันคุดเป็นแหล่งสะสมของเเบคทีเรียได้ง่ายจากรูปแบบฟันที่ขึ้นผิดปกติ ข้อเสียของการปล่อยฟันคุดไว้โดยไม่รับรักษามีผลเสียตามมาดังนี้
- เกิดฟันผุ หรือ เหงือกอักเสบได้ง่าย จากเศษอาหารติดที่ซอกฟัน เป็นแหล่งสะสมแบคทีเรีย
- อาการปวดฟัน เนื่องจากแรงดันของฟันคุด
- ฟันยื่นและฟันเก กระดูกรอบรากฟัน หรือรากฟันข้างเคียงถูกทำลาย จากแรงดันตัวของฟันคุดที่พยายามดันขึ้นมา
- เกิดความผิดปกติของเนื้อเยื่อหุ้มฟัน
- การเกิดซีสต์และเนื้องอกเกิดขึ้นรอบๆฟันคุด
ฟันคุด มีกี่แบบ ลักษณะของฟันคุด
ลักษณะของฟันคุด แบ่งออกเป็นตามลักษณะการขึ้น ของแนวฟันคุด ซึ่งมีด้วยกัน 3 แบบ คือ
- ฟันคุดที่ขึ้นในเเนวตรง (Vertical impaction)
- ฟันคุดที่ขึ้นในแนวนอน (Horizontal impaction)
- ฟันคุดที่ขึ้นแนวเฉียง
ถ้ารูปแบบฟันคุด มีการล้มเอียงตัดกับฟันข้าง จะไม่สามารถถอนออกได้ด้วยวิธีธรรมดา เเต่ต้องอาศัยการผ่าตัดเอาออก
วิธีสำรวจว่ามีฟันคุด (เบื้องต้น) หรือไม่ ด้วยตัวเอง
โดยปกติในช่วง 17-21 ปี ฟันกรามซี่สุดท้ายจะเริ่มขึ้นให้เห็น ถ้าคุณดูจำนวนฟันแท้ว่ามีครบ 32 ซี่หรือไม่ ถ้าคุณนับได้ 28 ซี่ 4 ซี่ ที่หายไปสันนิษฐานได้ว่าเป็นฟันคุดที่อาจจะล้มเอียงตัดกับฟันข้างๆ หรือวิธีง่ายๆ ลองเช็คฟันกรามซี่ที่สามว่ามีขึ้นหรือไม่ หรือขึ้นเเล้วมีลักษณะขึ้นได้ปกติหรือไม่ แนะนำให้เช็คกับทันตแพทย์ด้วยการ X-ray ฟันดูอีกที เพื่อปรึกษาแนวทางการรักษาที่ถูกต้องต่อไป
ติดต่อคลินิกเพื่อขอคำปรึกษา
ติดต่อเพื่อนัดปรึกษาทันตแพทย์ ตรวจฟัน
ทำไมต้องผ่าฟันคุด
การผ่าฟันคุดเป็นวิธีการรักษาที่หวังผล เพื่อป้องกันปัญหาช่องปากอื่นๆตามมาดังนี้
- ป้องกันฟันผุ ในบริเวณซอกฟันกรามซี่ข้างเคียงที่อยู่ติดกัน ที่ทำความสะอาดได้ยาก มีโอกาสที่เศษอาหารจะติดค้างสะสมจนเกิดฟันผุได้
- ป้องกันการอักเสบของเหงือก จากการทำความสะอาดไม่ทั่วถึง มีเศษอาหารสะสม เป็นเเหล่งสะสมแบคทีเรีย อาการปวดบวม จนถึงเป็นหนอง ถ้าไม่รีบรักษาการอักเสบยังลุกลามไปได้ยังส่วนต่างๆของร่างกายได้อีกด้วย
- ป้องกันการซ้อนเกกันของฟัน การละลายตัวของกระดูก จากแรงดันจากฟันคุดพยายามดันขึ้นมา มีผลให้ฟันข้างเคียงมีการเคลื่อนที่ผิดตำแหน่ง ไปจนถึงกระดูกรอบรากฟันหรือรากฟันข้างเคียงถูกทำลาย
- ป้องกันการเกิดถุงน้ำหรือเนื้องอก จากการขยายตัวของเนื้อเยื่อรอบฟันคุดจนเป็นถุงน้ำ ผลร้ายที่ตามมาคือถุงน้ำจะทำลายฟันซี่ข้างเคียงและกระดูกบริเวณรอบ ๆ
- ใช้ร่วมในการเตรียมการจัดฟัน การถอนฟันกรามซี่ที่สามออก ช่วยให้การเคลื่อนฟันซี่อื่นๆ ง่ายขึ้น
วิธีเตรียมตัวก่อนไป ผ่าฟันคุด
- แปรงฟันและทำความสะอาดช่องปากให้พร้อมก่อนผ่าฟันคุด
- พักผ่อนให้เพียงพอก่อนวันผ่าฟันคุด
- งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และงดสูบบุหรี่
- รับประทานอาหารให้พออิ่มท้อง
ขั้นตอนการผ่าฟันคุด
- ทันตแพทย์ตรวจในช่องปากและดูลักษณะการขึ้นของฟันคุดเพื่อพิจารณาว่าจะต้องถอนหรือผ่า
- ทันตแพทย์ใช้ภาพถ่าย X-ray ประกอบ เพื่อตรวจสภาพฟัน รากฟันและกระดูกรองรับฟัน
- ทันตแพทย์สอบถามประวัติด้านสุขภาพของคนไข้ ที่อาจจะส่งผลหลังการผ่าตัดหรือถอนฟัน เช่น การหยุดไหลของเลือด อาการแพ้ยา หากคนไข้มีโรคประจำตัวควรแจ้งทันตแพทย์ให้ทราบก่อนเข้ารับการผ่าฟันคุด
- ทันตแพทย์ฉีดยาชาบริเวณที่จะทำการผ่าตัด
- ช่วงผ่าตัดเปิดเหงือก เพื่อถอนฟันคุดออกมา
- ทันตแพทย์ทำการเย็บปิดปากแผล และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลรักษาหลังการถอนฟัน
การดูแล หลังผ่าฟันคุด ทำยังไง
- กัดผ้าก๊อซแน่นๆประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อห้ามเลือด ถ้ายังมีเลือดซึมจากแผลผ่าตัด ให้เปลี่ยนผ้าก๊อซที่สะอาดกัดใหม่จนกว่าเลือดจะหยุดไหล
- แนะนำให้ประคบเย็นบริเวณแก้มไว้ประมาณ 30 นาทีหลังการผ่าตัด
- ห้ามบ้วนเลือดและน้ำลาย 12 ชั่วโมงหลังการถอนฟัน เพราะอาจทำให้เลือดไหลไม่หยุดได้
- ห้ามใช้นิ้วกดแผล ห้ามดูดแผลเล่น
- สามารถบ้วนปากได้ด้วยน้ำเกลือ ( เกลือ 1 ช้อนชา + น้ำอุ่น 1 แก้ว) 12 ชั่วโมงหลังการถอนฟัน น้ำเกลือ
- แปรงฟันได้ตามปกติ เพิ่มความระมัดระวังบริเวณแผล
- ควรรับประทานอาหารอ่อนๆ เย็นๆ และรสไม่จัดในช่วง 3 วันแรก
- รับประทานยา (ยาแก้แพ้, ยาแก้อักเสบ, ยาแก้ปวด)ให้ครบตามที่คุณหมอสั่ง ถ้ามีอาการปวดหลัง รักษาได้ด้วยการรับประทานยาแก้ปวด
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
คำถามเกี่ยวกับฟันคุด
ฟันคุด จำเป็นต้องผ่าทุกคนมั้ย
ไม่จำเป็นต้องผ่าทุกคน โดยปกติถ้าฟันคุดสามารถขึ้นได้เต็มอาจจะใช้การถอนฟันได้ เเต่อย่างไรก็ตามคุณหมอจะพิจารณารากฟันดูว่าจำเป็นต้องมีการผ่าร่วมด้วยหรือไม่ เเต่กรณีที่ขึ้นมาได้ไม่เต็มซี่หรือฟันคุดที่ไม่สามารถดันขึ้นมาได้ ต้องอาศัยการผ่าตัดเข้ามาร่วมด้วย
โรคประจำตัวใดบ้างที่เสี่ยงต่อการรักษาด้วยการผ่าตัดฟันคุด
โรคหัวใจ และโรคเลือด เเละโรคความดัน เนื่องจากคนไข้ที่เลือดออกง่าย มีความเสี่ยงที่เลือดหยุดไหลยาก
ดังนั้นก่อนผ่าตัดกับทางทันตแพทย์ คนไข้ควรเเจ้งโรคประจำตัว และยาที่รับประทานด้วย เช่น ยาบางชนิดคนไข้ใช้เพื่อรักษาโรค อาจจะไปสลายลิ่มเลือดก็อาจจะต้องเตรียมเกล็ดเลือดสำหรับการผ่าตัด เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น
กรณีตัวอย่างคนไข้โรคหัวใจ ต้องเตรียมตัวตามแนวทางในการรักษาภายใต้การดูเเลของแพทย์ประจำตัว มีการวัดความดัน เช็คผลเลือดให้เป็นปกติก่อน ก็สามารถรักษาฟันคุดได้อย่างปลอดภัย
ผ่าฟันคุดเจ็บมั้ย
การผ่าฟันคุดไม่เจ็บอย่างที่คิด เพราะในขั้นตอนการผ่าฟันคุด ทันตแพทย์จะฉีดยาชา หลังผ่าตัดเสร็จก็จะล้างทำความสะอาดแผลและเย็บปิดแผล เเต่คนไช้จะมีอาการปวดบ้างหลังยาชาหมดฤทธิ์ คุณหมอจะให้ยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการต่อได้
การผ่าตัดฟันคุดมีอันตรายมั้ย
การผ่าฟันคุดไม่ได้อันตรายหรือน่ากลัวอย่างที่คนไข้หลายๆคนกังวลนะคะ ในบางเคสที่พบอาการแทรกซ้อนจากการผ่าตัดฟันคุด เช่น เลือดไหลมากผิดปกติ มีไข้ แนะนำว่าช่วงหลังผ่าตัด 2 – 3 วัน ถ้าอาการปวดบวมยังไม่เบาลง รู้สึกชาที่ริมฝีปากล่างนานผิดปกติ ควรรีบกลับไปพบทันตแพทย์ได้ทันที อย่างไรก็ตามผลแทรกซ้อนนี้พบได้น้อยมาก
ฟันคุดผุต้องรักษาก่อนผ่าตัดมั้ย
ถ้าฟันคุดผุ มีอาการปวดบวมเล็กน้อย มีการอักเสบติดเชื้อที่สามารถผ่าได้เลยคุณหมอก็อาจจะผ่าตัดให้เลย เพื่อป้องกันการผุติดเชื้อลุกลามไปยังฟันข้างเคียง ทั้งนี้ทันตแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย ภูมิต้านทาน การดูเเลช่องปากเเละโรคประจำตัวอื่นๆ ของคนไข้ร่วมด้วย
ผ่าฟันคุดตอนอายุเท่าไหร่ดี
ในช่วงอายุ 17 – 22 ปี เป็นช่วงวัยที่คนไข้จะพบฟันคุด เริ่มมีเเรงดันเเละสร้างรากขึ้นมา บางคนจะเห็นฟันคุดโผล่ขึ้นมา สามารถถอนหรือผ่าได้ในช่วงนี้จะเหมาะสมที่สุด เพราะกระดูกในช่วงวัยนี้ยังมีความนิ่มเเละยืดหยุ่นได้มากกว่าวัยที่อายุมากขึ้น เเละรากฟันยังไม่ยาวจนเกินไป
ในความเป็นจริงทุกช่วงอายุสามารถผ่าฟันคุดได้ แต่ข้อเสียคือ กระดูกรัดฟันแน่นขึ้น การขยับฟันเพื่อให้ฟันคุดออกจะยากกว่า การผ่าตัดตอนอายุเยอะก็จะใช้เวลาซ่อมเเซมแผลช้ากว่าอีกด้วยค่ะ
ผ่าฟันคุด ถอนฟันคุด ราคา เท่าไหร่
การผ่าฟันคุด | ค่าใช้จ่ายเริ่มต้น ต่อซี่ (THB) |
---|---|
ผ่าฟันคุด | 3,500 บาท |
ถอนฟันที่มีการเย็บร่วมด้วย | 1,500 บาท |
ติดต่อคลินิกเพื่อขอคำปรึกษา
ติดต่อเพื่อนัดปรึกษาทันตแพทย์ เพื่อปรึกษาการจัดฟัน แต่ล่ะประเภท ว่าคุณเหมาะกับการจัดฟันแบบไหน
เนื้อหาบทความนี้ถูกเขียนโดยทีมงาน Care Dental Clinic และเนื้อหาได้ถูกยืนยันโดย