โรคเหงือก เหงือกอักเสบ เป็นพื้นฐาน ปัญหาในช่องปากที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ซึ่งส่งผลเสียตั้งแต่ กลิ่นปาก จนไปถึง การสูญเสียฟัน ปัญหาโรคเหงือกเรื่องใกล้ตัวที่มักถูกมองข้าม
โรคเหงือก หรือเหงือกที่มีอาการอักเสบ คือ เหงือกที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียหรือจุลินทรีย์ที่สะสมอยู่บนตัวฟัน เมื่อแปรงฟัน หรือ ดูแลฟันไม่สะอาดจะเกิดการสะสมเป็นคราบของแบคทีเรียที่ก่อตัวขึ้นทั้งที่บนฟันและช่องว่างระหว่างซี่ฟัน ทำให้เกิดอาการบวมและระคายเคืองของเหงือก ซึ่งหากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างทันเวลาและถูกต้องก็อาจจะทำให้ลุกลามติดเชื้อไปยังกระดูกที่ยึดกับฟันรวมถึงบริเวณใกล้เคียงอื่น ๆ ได้
อาการของโรคเหงือก วิธีสังเกตว่ากำลังมีปัญหาเหงือกอักเสบ
- เหงือกแดงหรือบวมผิดปกติ
- มีเลือดออกระหว่างแปรงฟัน
- เหงือกร่นลงทำให้เห็นฟันยาวขึ้นผิดปกติ
- ฟันเคลื่อนหรือขยับเวลาเคี้ยวอาหาร
- และมีกลิ่นปาก เป็นต้น
3 ระยะของโรคเหงือก video อธิบาย วิธีสังเกตโรคเหงือก
ปัญหาของโรคเหงือก ที่มา และ วิธีการสังเกต เพื่อให้คุณสามารถตรวจเช็คว่า เหงือกของคุณ สุขภาพดีหรือไม่ และ ต้องทำอย่างไร หากมีอาการที่เข้าข่ายว่าจะอาจจะเริ่มมีปัญหา เหงือกอักเสบ รวมถึง เหงือกของคุณ มีปัญหาอยู่ที่ระดับไหนแล้ว
ติดต่อคลินิกเพื่อขอคำปรึกษา
ติดต่อเพื่อนัดปรึกษาทันตแพทย์ ตรวจฟัน
โรคเหงือกแบ่งออกได้ทั้งหมดเป็น 3 ระยะ
ระยะแรก เหงือกอักเสบ
เป็นอาการเบื้องต้นของโรคเหงือก ซึ่งเกิดจากคราบแบคทีเรียสะสมตามร่องเหงือกเนื่องจากการแปรงฟันหรือขัดฟันไม่สะอาด ทำให้เกิดอาการระคายเคืองและทำให้เหงือกอักเสบ ซึ่งอาการของเหงือกอักเสบในระยะแรกนี้จะสังเกตได้ก็คือจะมีเลือดออกขณะแปรงฟัน หรือใช้ไหมขัดฟัน
ระยะที่สอง อาการปริทันต์ หรือ อาการเยื่อหุ้มฟันอักเสบ
เป็นระยะที่กระดูกและเนื้อเยื่อหุ้มฟันถูกทำลาย โดยเหงือกจะเริ่มร่นและเกิดเป็นโพรงใต้รอยต่อระหว่างเหงือกและฟันทำให้เศษอาหารเข้าไปติดฟันได้ง่าย
ระยะสุดท้าย อาการปริทันต์ขั้นรุนแรง หรือ ระยะเยื่อหุ้มฟันอักเสบตอนปลาย
อาการปริทันต์ขั้นรุนแรงหรือระยะเยื่อหุ้มฟันอักเสบตอนปลาย เป็นโรคเหงือกระยะที่เนื้อเยื่อซึ่งทำหน้าที่พยุงฟันได้ถูกทำลายไปจนหมด ทำให้เกิดอาการฟันเคลื่อนหรือฟันโยก ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการเคี้ยวอาการบกพร่อง
วิธีการดูแลรักษา โรคเหงือก เบื้องต้น
การรักษาโรคเหงือกนั้น หากเริ่มเป็นโรคเหงือกระยะแรกสามารถทำได้โดย การแปรงฟัน และ ขัดฟันให้สะอาด หรือพบทันตแพทย์เพื่อทำการขูดคราบหินปูนเพื่อไม่ให้เกิดคราบแบคทีเรียสะสมเพิ่มขึ้น
แต่หากมีอาการของโรคปริทันต์ต้องเข้ารับการรักษาโดยทันตแพทย์ผู้มีความเชี่ยวชาญ เพื่อป้องกันไม่ให้โรคเหงือกลุกลามไปสู่ขั้นรุนแรงเนื่องจากจะไม่สามารถรักษาให้คืนสู่ภาวะปกติได้โดยวิธีการรักษาโรคปริทันต์นั้น
ขั้นตอนการรักษา โรคปริทันต์ ทันตกรรมโรคเหงือกที่ Care Dental Clinic
ทันตแพทย์จะต้องทำความสะอาดฟันไปจนถึงรากฟัน
โดยการรักษาจะต้องมีการขูดหินปูน และเกลารากฟัน (root planing) ร่วมด้วย โดยจะขูดหินปูนทั้นบนตัวฟัน และส่วนที่อยู่บนผิวรากฟันภายในร่องปริทันต์ ส่วนการเกลารากฟันคือการทำให้ผิวรากฟัน เรียบเพื่อให้เนื้อเยื่อเหงือกสามารถกลับมายึดแน่นติดกับผิวฟันได้เหมือนเดิม ซึ่งขั้นตอนนี้จะต้อง ทำซ้ำหลายๆครั้ง
กลับมาดูอาการหลังจากรักษาเสร็จแล้วประมาณ 4-6 สัปดาห์
ทันตแพทย์จะเรียกกลับมาดูอาการอีกครั้งว่า หายดี หรือไม่ ซึ่งหากการรักษาในขั้นตอนนี้ไม่ได้ผล ถ้ายังมีร่องลึกปริทันต์เหลืออยู่หรือมีการละลายของกระดูกไปมาก คนไข้จะต้องเข้ารับการรักษาโดยวิธีการผ่าตัดเหงือก (ศัลย์ปริทันต์ : Periodontal Surgery) ร่วมด้วยเพื่อลดความลึกของร่องเหงือก ซึ่งในบางกรณีแพทย์อาจจะต้องใช้การยึดฟันโดยใช้เทคนิคพิเศษ
ขั้นตอนหลังจากการผ่าตัดใช้น้ำยาบ้วนปาก
ขั้นตอนหลังจากการผ่าตัดโดยหลังการผ่าตัดอาจคนไข้อาจจะต้องใช้น้ำยาบ้วนปากแทนการแปรงฟันสักระยะ เพื่อให้แผลผ่าตัดการสมานและเพื่อไม่ให้กระทบต่อเหงือก หรือทันตแพทย์อาจจะใช้วิธีการรักษาที่ทันสมัยเพื่อให้ขากรรไกรคืนสภาพ และเพื่อให้ฟันสามารถกลับมายึดเกาะได้เหมือนเดิมอีกครั้ง
คนไข้จะต้องทำความสะอาดฟันและซอกฟันอย่างถูกวิธี
คนไข้จะต้องทำความสะอาดฟันและซอกฟันอย่างถูกวิธีและสม่ำเสมอด้วยตนเอง อย่างน้อยจะต้องใช้ แปรงและไหมขัดฟันทุกวัน เพื่อที่จะกำจัดคราบจุลินทรีย์ให้หมดทุกวัน
อ่านเนื้อหาที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
เนื้อหาบทความนี้ถูกเขียนโดยทีมงาน Care Dental Clinic และเนื้อหาได้ถูกยืนยันโดย