ปวดฟัน ทำยังไงดี ทานยาแก้ปวดอย่างเดียวได้มั้ย

ปวดฟัน ทำยังไงดี

ปวดฟัน ทำยังไงดี แต่กลัวการไปหาหมอฟัน เพราะแค่นี้ก็ปวดจะแย่อยู่แล้ว ทานยาแก้ปวดอย่างเดียว รอหายปวด จะมีผลอะไรมั้ย หรือก็ควรแค่ทานยา วิธีนี้ถูกต้องแล้วหรือเปล่า

ปวดฟัน ทำยังไงดี
ปวดฟัน ทำยังไงดี

ใครที่ ปวดฟันมากๆ และกำลังคิดว่า จะรักษาลดแก้ปวดฟันด้วยการทานยาเพียงอย่างเดียว หยุด และอ่านเพื่อทำความเข้าใจกับเรื่องปัญหาการปวดก่อนนะจ๊ะหากใครไม่เคยปวดฟันมาก่อน ก็คงไม่เข้าใจว่า ทรมานขนาดไหน

อาการปวดฟัน สามารถทุเลาลง แต่อาจจะไม่หายขาด และ อาจจะลามไปถึงการสูญเสียฟัน คุณหมอเข้าใจดี ไม่มีคนไข้ที่ไหนอยากจะมาหาหมอพร้อมกับอาการปวดฟัน หรือต้องการมาพบกับทันตแพทย์ด้วยสาเหตุของการปวดฟันอยู่บ่อยๆ ใช่มั้ยคะ? คุณหมอขออธิบายเพื่อเพิ่มความเข้าใจ ตั้งเเต่ที่มาปัญหาปวดฟัน และความเข้าใจเพื่อให้การซื้อหรือการรับประทานยา เพื่อแก้ปัญหาปวดฟันต่างๆนี้เกิดขึ้นอย่างเป็นประโยชน์  ก่อนที่จะไปพบทันตแพทย์เพื่อทำการรักษามาฝากคะ

วิธีป้องกัน อาการ ปวดฟัน เบื้องต้น

ในทางปฏิบัติเมื่อคนไข้ปวดฟันมากๆ เมื่อมาพบทันตแพทย์หรือไปหา เภสัชกรก็จะได้รับคำแนะนำสำหรับคนที่ปวดฟันคือ

รับประทานยาแก้ปวด เพื่อลดอาการ ปวดฟัน

ก่อนจะได้รับการรักษาจริง เพื่อให้คนที่กำลังปวดฟันอยู่เข้าใจอย่างถูกต้องว่า การมาหาหมอฟัน เวลาปวดฟันนั้ เกือบทุกกรณีจะยังไม่ได้รับการรักษา แต่จะได้รับการตรวจและวินิจฉัยก่อน เพราะการที่มีอาการปวดฟันมากๆ แสดงว่ามีการอักเสบของเนื้อฟันและเหงือก หรืออาจจะมีการผุของฟัน ซึ่งจะได้รับการวิเคราะห์เบื้องต้น แต่จะยังไม่ได้รับการรักษาโดยทันที โดยหลักๆก็จะต้องทานยาเพื่อให้อาการปวดนั้นทุเลาลงก่อน ก่อนจะได้รับการรักษาต่อ

หมวดหมู่ของยาที่ใช้การลดอาการปวดฟัน

แบ่งออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน

ประเภทแรก ยาแก้ปวด

โดยจะแบ่งชนิดของยาแก้ปวดฟันเพื่อรักษาบำบัดอาการปวดขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ

เพิ่งเริ่มปวดฟัน ปวดเล็กน้อย และไม่รุนแรง

อาจเริ่มต้นด้วยการใช้ยาพาราเซตามอล 500 mg ในผู้ใหญ่ใช้ครั้งละ 2 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมง เฉพาะเวลาที่มีอาการปวด
โดยจะแบ่งชนิดของยาแก้ปวดฟันเพื่อรักษาบำบัดอาการปวดขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการหากคุณเริ่มต้น ปวดเล็กน้อยและไม่รุนแรงอาจเริ่มต้นด้วยการใช้ยาพาราเซตามอล 500 mg ในผู้ใหญ่ใช้ครั้งละ 2 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมง เฉพาะเวลาที่มีอาการปวด

วิธีแก้ปวดฟัน

อาการปวดฟัน ระดับปานกลาง

หลายรายมักเริ่มต้นจากการใช้ยาพาราเซตามอลแล้ว อาจได้ผลเพียงเล็กน้อย หรือไม่ได้ผลเลย ซึ่งแสดงว่าระดับการปวดฟันมีระดับรุนแรงมากขึ้น เภสัชกรมักแนะนำให้หยุดตัวยาจากพาราเซตามอลไปเป็นชนิดอื่นที่ระงับอาการปวดได้ดีกว่าที่มีฤทธิ์แก้ปวดได้ในระดับปานกลาง อาทิเช่น IBUPROFEN (ไอบูโพรเฟน) ชนิดเม็ด 400mg วันละ 3 ครั้ง กินหลังข้าวทันทีเนื่องจากยาแก้ปวดกลุ่มนี้มีฤทธิ์เป็นกรด ในการใช้จึงควรกินหลังอาหารทันที เพื่อช่วยลดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร และไม่ควรกินติดต่อกันนานๆเพราะจะทำให้เกิดเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหารได้ เมื่ออาการหายดีแล้ว ก็ควรหยุดยาและรีบไปหาหมอฟันต่อไป

ฟันผุเพราะอะไร

ประเภทที่ 2 ยาต้านเชื้อแบคทีเรียหรือยาแก้อักเสบ

จริงๆแล้วเราจะจ่ายยานี้ในกรณีที่คาดว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรียที่ฟัน หรือในรายที่มีอาการเหงือกบวม เป็นหนองร่วมด้วย ยาที่นิยมใช้ คือ Amoxicillin 500mg ครั้งละ 1-2 เม็ด 3 เวลา ควรใช้ให้ครบ dose คือติดต่อกัน 5 วันขึ้นไป แต่ไม่ควรซื้อมากินเอง เพราะคุณๆอาจแพ้ได้ ควรได้รับการสั่งยาจากทันตแพทย์ก่อน

ประเภทที่ 3 ยากลุ่มเมโทรนิดาโซล (metronidazole)

บางครั้งการที่ปวดฟันและเหงือกบวม อาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดที่ไม่ต้องการออกซิเจน (anaerobe bacteria) ซึ่งจะต้องใช้ยาต้านจุลชีพ ชื่อเมโทรนิดาโซล metronidazole 200-250mg ซึ่งเป็นยาที่ได้ผลดี ต่อเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ ครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง หลังอาหารทันทีเพราะยานี้อาจระคายเคืองต่อทางเดินอาหารได้ ควรใช้ยานี้ติดต่อจน ครบเช่นเดียวกับยาปฏิชีวนะชนิดอื่นๆ

ปวดฟัน ควรพบทันตแพทย์

บทสรุปว่า ปวดฟัน ทำยังไงดี

การจะรับประทานยาต่างๆ ควรได้รับการสั่งยาจากทันตแพทย์ก่อน หรือควรจะได้รับคำปรึกษาจากเภสัชกรก่อน รวมถึงดูด้วยว่าตนเองแพ้ยาประเภทใดบ้าง เห็นมั้ยคะว่า การรับประทานยามีรายละเอียดมากกว่าที่คุณคิด เพื่อความปลอดภัย จึงควรปรึกษาทันตแพทย์เมื่อคุณมีอาการปวดฟัน อย่าละเลยจนปัญหาใหญ่นั้นลุกลามจนเกินกว่าเหตุ 

และหลังจากที่ได้อ่านบทความนี้แล้วเมื่อไปพบกับทันตแพทย์ จะได้ไม่เข้าใจผิดว่าทำไมไม่รักษาเลยให้หาปวดทันที คนไข้ก็จะอาจจะได้รับคำอธิบายในแบบที่ได้อธิบายมานะคะ ในขณะที่มีอาการปวดฟันอย่างรุนแรงนั้น ไม่ควรทำการอุดหรือถอนฟันทันที จะต้องให้ยาบรรเทาอาการเหล่านี้ให้ทุเลาลงก่อน แล้วจึงทำการรักษาดูแลทางทันตกรรมได้และเมื่อหายปวดหรือบรรเทาลงไปบ้างแล้ว แนะนำให้ไปพบทันตแพทย์ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องฟันได้ดูแลและหาสาเหตุของอาการปวด เพื่อทำการรักษาทางทันตกรรมต่อไปและอย่าลืม คลิกเพื่ออ่านเรื่อง อุดฟัน วิธีป้องกันฟันผุด้วยนะคะ


WE SHARE, WE CARE
“สุขภาพฟันจะดีได้ต้องมีคนดูแล ให้แคร์ดูแลคุณ”
คลินิกทันตกรรมประสบการณ์กว่า 30 ปีในย่านบางรัก
รักษากับทีมทันตแพทย์เฉพาะทาง เพื่อสุขภาพฟันที่ดีของคุณ


สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อคลินิก
Phone: +668-5157-3883
Secondary phone: +66-2211-8903
แผนที่ คลินิก (คลิกเพื่อดูรายละเอียด)
line : @caredentalclinic

Line add friends


ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Facebook Fanpage
https://www.facebook.com/caredentalthai
และติดตามดูรายการดีๆของคลินิกผ่านช่อง youtube
http://www.youtube.com/c/CareDentalClinicChannel

Scroll to Top