ทำอย่างไรเมื่อฟันกรามแตก ปัญหาฟันแตกได้บ่อยๆ ในฟันกราม เพราะเป็นฟันที่เราใช้บดเคี้ยวเป็นหลัก แต่คุณรู้หรือไม่ว่าฟันแตกเป็นสาเหตุสำคัญของการสูญเสียฟัน ฟันแตกเริ่มจากรอยร้าวของฟันมีผลจากการบดเคี้ยวอาหารแข็งๆ การนอนกัดฟันในตอนกลางคืนเเละปัจจัยอื่นๆ เช่น อายุมากขึ้น
ใครที่มี ฟันกรามแตก หรือ ฟันแตก อย่าละเลยปัญหานี้ รีบนัดพบทันตแพทย์ด่วนเป็นดีที่สุดค่ะ ส่วนใครที่สงสัยว่าคุณเองมีอาการที่เสี่ยงฟันแตกหรือไม่ มาตรวจเช็คและป้องกันที่สาเหตุกันค่ะ
ฟันกรามแตกเจ็บมั้ย

ก่อนฟันเเตก เริ่มจากคนไข้มีอาการฟันร้าว อาจพบว่ามีอาการดังนี้
- ปวดฟันขณะเคี้ยวอาหาร มีอาการปวเป็นพักๆ หรือเป็นๆหายๆ
- เสียวฟันเมื่อรับประทานอาหารที่ร้อน เย็น หรืออาหารรสหวาน
- เหงือกบวม
- มีกลิ่นปาก
- ถ้าคนไข้มีการติดเชื้ออาจจะมีไข้ร่วมด้วย
คนไข้บางรายไม่พบว่ามีการปวด ถ้าฟันส่วนที่แตกนั้นเล็กน้อย ไม่กระทบถึงชั้นโพรงประสาทฟัน อาจะพบเเค่อาการเสียวฟัน
ทำอย่างไรเมื่อฟันกรามแตก
เบื้องต้นเมื่อพบว่ามี ฟันแตก หรือ ฟันร้าว หรือ มีอาการเสียวฟัน ปวดฟัน ควรรีบนัดตรวจกับทันตแพทย์ ถึงจะพบแค่รอยร้าวเเต่ไม่มีอาการเจ็บปวดก็ไม่ควรปล่อยไว้นาน
อย่าลืมว่ายิ่งเราใช้ฟันบดเคี้ยวทุกวัน รอยแตกนั้นขยายวงมากขึ้นไปถึงโพรงประสาทฟันได้ ยิ่งเกิดอาการติดเชื้อลุกลาม ไปยังเนื้อเยื่อที่อยู่ใกล้เคียงได้ เช่น ใต้ลิ้น ช่องคอ หรือในช่องอก

- ถ้ามีฟันเเตกให้เก็บไว้ในขวดเล็กๆที่ใส่น้ำนมหรือน้ำลายเอาไว้ เพื่อยืดอายุของเนื้อฟัน เผื่อคุณหมอสามารถนำกลับมาต่อได้
- เพื่อกันฟันส่วนที่เเตกบาด คุณสามารถใช้ขี้ผึ้งจัดฟัน (Dental Wax) ทาปิดบริเวณขอบที่เเตกก่อนได้ หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป
- กลั้วปากด้วยน้ำเกลือหลังมื้ออาหาร ช่วยยับยั้งแบคทีเรียในช่องปาก
- คุณสามารถยับยั้งอาการปวดฟัน ด้วยการรับประทานยาแก้ปวด ลดอาการปวดบวมได้ ระหว่างที่รอนัดคิวคุณหมอ
ติดต่อคลินิกเพื่อขอคำปรึกษา
ติดต่อเพื่อนัดปรึกษาทันตแพทย์ ตรวจฟัน
วิธีสังเกตว่าคุณมีฟันแตกหรือไม่
- ส่องกระจก สำรวจว่ามีรอยแตกที่อุดฟันให้เห็นหรือไม่
- ลองใช้ลิ้นดุน หรือกวาดลิ้นไปรอบๆ ว่าพบส่วนไหนที่มีความเเหลมคมหรือไม่ ถ้ามีก็เป็นไปได้ว่าอาจจะมีเนื้อฟันบางส่วนที่เเตกออกมา
- สังเกตสีเหงือก บริเวณแนวเหงือกที่พบฟันแตก มักจะมีการบวมแดง
- พบส่วนแปลกปลอมที่หลุดอยู่ในช่องปาก ถ้าคุณมีเศษฟันที่แตก เเนะนำให้เก็บไว้เเล้วรีบไปพบทันตแพทย์
นอกจากอาการปวดฟันหรือเสียวฟันที่มักพบได้ ระหว่างเคี้ยวอาหารเเล้ว คนไข้บางคนก็อาจไม่พบอาการเลยก็มี เราอยากให้คุณลองสังเกตฟันของคุณตามคำอธิบายได้กล่าวมา

ฟันกรามแตก เกิดจากอะไร
- แรงบดเคี้ยวจากการทานอาหารที่มีความแข็ง เช่น น้ำแข็ง, ถั่ว หรือลูกอม
- มีรอยอุดฟันขนาดใหญ่ ทำให้ความเเข็งเเรงโดยรวมของฟันลดลง

- การใช้ฟันแบบผิดๆ เช่น ใช้ฟันงัดเพื่อเปิดขวด
- นอนกัดฟัน

5. ประสบอุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนกับฟัน เช่นอุบัติเหตุทางรถยนต์, บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา หรือบาดเจ็บจากการชกต่อย
6. การรับประทานอาหารที่มีอุณหภูมิต่างกันอย่างฉับพลันก็มีผล เช่น การทานอาหารที่มีความร้อนมากแล้วรีบทานอาหารที่เย็นจัดอย่างน้ำเเข็ง เพื่อลดอุณหภูมิลง
7. อายุที่มากขึ้นก็มีความเสี่ยงมากขึ้น เนื่องความเเข็งเเรงของกระดูกเเละฟันนั้นลดลงด้วยตามอายุ มักพบในคนไข้อายุ 50 ปีขึ้นไป

ประเภทเเละลักษณะความรุนเเรงของฟันแตก
เราเเบ่งประเภท ตามลักษณะความรุนเเรงของฟันเเตกได้คร่าวๆ 5 แบบ ดังนี้
1. มีรอยแตกที่ผิวเคลือบฟัน เคลือบฟันเปรียบเหมือนเสื้อเกราะที่เเข็งเเรงช่วยปกป้องเนื้อฟัน รอยเเตกที่พบมักมีขนาดเล็กเเละตื้น ไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวดจึงไม่จำเป็นต้องรักษา แต่ใช้แค่การขัดเงาผิวฟันก็เป็นอันเรียบร้อย

2. ฟันกรามบริเวณที่เคยอุดมีการแตก โดยปกติไม่ส่งผลต่อเนื้อเยื่อเเละเส้นประสาทฟัน จึงไม่เกิดอาการเจ็บปวดมาก สามารถรักษาด้วยการอุดฟันหรือทำครอบฟัน

3. ฟันแตกเเละมีรอยร้าว กรณีที่ยังไม่ขยายไปถึงเเนวเหงือกก็สามารถรักษาได้ แต่ถ้าการฟันมีรอยแตกขยายไปถึงบริเวณเหงือก อาจจำเป็นต้องถอนฟันซึ่งเป็นการรักษาที่ดีที่สุด

4. ฟันแตกแบ่งเป็นสองส่วนจากผิวด้านบนลามไปถึงด้านล่างของแนวเหงือก รอยแตกขนาดใหญ่นี้อาจะทำให้ทันตแพทย์ช่วยรักษาฟันได้บางส่วน

5. ฟันแตกหักแนวตั้ง เป็นรอยแตกที่เริ่มต้นจากข้างใต้เส้นเหงือกและขึ้นไปด้านบน ซึ่งฟันแตกลักษณะนี้มักจะไม่แสดงอาการให้เห็นมากนัก แต่ถ้าฟันมีการติดเชื้อ ก็มีโอกาสที่สูงมากที่จะต้องถอนฟันซี่ที่เสียออก

ฟันแตก ต้องทำอะไรบ้าง
ทันตแพทย์จะทำการรักษาตามอาการ ขึ้นอยู่กับลักษณะและความรุนเเรงของรอยแตก
1. กรอฟัน
กรณีที่ฟันคุณแค่แตกหรือร้าวเล็กน้อยที่บริเวณเคลือบฟัน ทันตแพทย์จะใช้การกรอฟันขัดเผิวฟันให้เรียบ ลดความคมไม่ให้บาดเหงือกหรือลิ้น แก้ไขให้ฟันกลับมาสวยงาม

2. อุดฟัน
กรณีที่ฟันแตก เกิดเป็นรูขึ้นในตัวฟันต้องใช้การอุดฟันด้วยวัสดุอุดฟัน เช่น พลาสติกเรซิ่น เพื่อให้ฟันใช้งานได้ตามปกติ ไม่ให้เกิดการเเตกที่มากขึ้น เเละป้องกันฟันผุ

3. ครอบฟัน
กรณีที่รอยแตกค่อนข้างใหญ่ เนื้อฟันมีความเสียหาย ทันตแพทย์จะใช้ครอบฟันที่เป็นอุปกรณ์ทำจากพอร์ซเลนหรือเซรามิก ที่มีสีคล้ายกับฟันจริง มีความเเข็งเเรงทนทาน ใช้งานได้ตามปกติเหมือนฟันเเท้

4. รักษารากฟัน
กรณีที่รอยแตกขยายลึกเข้าไปถึงโพรงประสาทฟัน ทันตแพทย์จะต้องรักษารากฟัน โดยการทำความสะอาดบริเวณคลองรากฟัน นำเนื้อเยื่อส่วนที่เสียหายออก ป้องกันการติดเชื้อเพิ่ม เเละคืนความสมบูรณ์ให้ฟันก่อน เพื่อให้ฟันซี่นั้นยังใช้งานได้ โดยที่ยังไม่ต้องถอนฟัน
5. ถอนฟัน
กรณีที่ฟันมีการเเตกลึกเลยเเนวเหงือก ฟันมีความเสียหายรุนเเรงโดยที่ไม่สามารถรักษาเนื้อฟันได้ ต้องใช้การถอนฟันเพื่อป้องกันการติดเชื้อลุกลาม คนไข้ที่ถอนฟันจะได้รับการใส่ฟันปลอมทดแทน

อ่านบริการรักษาฟันกรามแตกเพิ่มเติม ได้ที่นี่
- การรักษารากฟันเป็นอย่างไร : การรักษารากฟันปกติกับการผ่าตัดรากฟัน
- ขั้นตอนการทำฟันปลอมเพื่อชดเชยฟันที่ต้องถอนไป
การป้องกันฟันกรามแตก
- หลีกเลี่ยงการเคี้ยวอาหารแข็ง ไม่ใช้ฟันในการงัดเปิดสิ่งของต่างๆ เสี่ยงต่อการทำให้ฟันบิ่นหรือเเตกได้
- ถ้าคุณเป็นคนที่นอนกัดฟัน เเนะนำให้ใส่ฟันยางหรือ night guard ที่จะช่วยป้องกันไม่ให้ฟันได้รับการกระทบกระเทือนจนเสียหายระหว่างหลับได้
- ดูเเลสุขภาพช่องปากเเละฟันอย่างสม่ำเสมอ
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เสริมเเคลเซียม จากอาหารพวก นม ผักใบเขียว บล็อคโคลี่ คะน้า ถั่ว ข้าวโอ๊ต เป็นต้น
- ถ้าคุณเล่นกีฬาที่ได้รับการกระเเทก อย่างฟุตบอล เบสบอล เเนะนำให้ใส่ฟันยางเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ
ฟันกรามแตกมีวิธีรักษาหลายรูปแบบ อยู่ที่ความรุนเเรงของอาการ ถ้าคุณมีฟันแตกเราเเนะนำให้รีบไปหาทันตแพทย์เพื่อรักษาให้ได้เร็วที่สุด ทางที่ดีคอยสังเกตอาการป้องกันฟันแตกแต่เนิ่นๆ เพื่อป้องกันการสูญเสียฟันก็จะมีประโยชน์ที่สุดค่ะ ถ้าคุณมีคำถามหรือข้อสงสัย ปรึกษากับคุณหมอที่ Care Dental Clinic ได้เลยนะคะ
ข้อมูลบางส่วนอ้างอิงจากเว็ปไซต์ dentalhealth.org/cracked-teeth
WE SHARE, WE CARE
“สุขภาพฟันจะดีได้ต้องมีคนดูแล ให้แคร์ดูแลคุณ”
คลินิกทันตกรรมประสบการณ์กว่า 30 ปีในย่านบางรัก
รักษากับทีมทันตแพทย์เฉพาะทาง เพื่อสุขภาพฟันที่ดีของคุณ
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อคลินิก
Phone: +668-5157-3883
Secondary phone: +66-2211-8903
แผนที่ คลินิก (คลิกเพื่อดูรายละเอียด)
line : @caredentalclinic

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Facebook Fanpage
https://www.facebook.com/caredentalthai
และติดตามดูรายการดีๆของคลินิกผ่านช่อง youtube
http://www.youtube.com/c/CareDentalClinicChannel
เนื้อหาบทความนี้ถูกเขียนโดยทีมงาน Care Dental Clinic และเนื้อหาได้ถูกยืนยันโดย